โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงสี่สุภาพคืออะไร

 

โคลงสี่สุภาพ

 

โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม ก็คือเรื่องลิลิตพระลอนั่นเองค่ะ

 

โคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่มีชื่อเสียง จากเรื่อง ลิลิตพระลอ

โคลงสี่สุภาพ

ลักษณะคำประพันธ์ของโคลงสี่สุภาพ

 

 

คณะ 1 บท มี 4 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ เฉพาะบาทที่ 4 หรือบาทสุดท้ายที่วรรคหลังมี 4 คำ รวมทั้งสิ้น 1 บทจะมี 30 คำ ไม่รวมคำสร้อย ถ้ารวมคำสร้อยด้วยก็จะเป็น 34 คำ

คำสร้อย คือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค มีได้ในวรรคหลังของบาทที่ 1 หรือบาทที่ 3 บาทละ 2 คำ นิยมลงท้ายด้วย พ่อ เฮย แฮ รา ฤา นา นอ เอย ฯลฯ จะใช้เมื่อต้องการขยายความให้ชัดเจนขึ้น เช่น เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ หรือ ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยที่มีความหมายอย่าง สร้อยเจตนัง แต่ปกติจะไม่ใช้ในกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ

คำเอก – คำโท เป็นการกำหนดเสียงด้วยรูปวรรณยุกต์เอกและรูปวรรณยุกต์โท

คำเอก คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ รวมถึงคำตายที่เป็นแม่ก กา ประสมกับสระเสียงสั้นกับคำที่สะกดด้วยแม่กก กบ กด ใน 1 บท มีคำเอก 7 คำ

คำโท คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ใน 1 บท มีคำโท 4 คำ

โคลงสี่สุภาพกำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก – โท แต่ในถ้าคำตามที่กำหนดไม่ได้ก็จะใช้เป็นคำเอกโทษและคำโทโทษเพื่อแปลงคำให้เป็นคำที่ตรงกับคำที่กำหนด แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้อีกต่อไปแล้ว

สัมผัส โคลงสี่สุภาพบังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอก ดังนี้

  • คำสุดท้ายของบาทที่ 1 ต้องสัมผัสกับคำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3
  • คำสุดท้ายของบาทที่ 2 ต้องสัมผัสกับ คำที่ 5 ของบาทที่ 4

โคลงสี่สุภาพอาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสในได้ ซึ่งเป็นได้สัมผัสอักษรและสัมผัสสระ เพื่อให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

 

สรุปความรู้โคลงสี่สุภาพ

 

 

หลังจากเรียนเรื่องโคลงสี่สุภาพและวิธีการแต่งคำประพันธ์แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจได้ทันทีเลยใช่ไหมคะ ว่าทำไมโคลงถึงเป็นคำประพันธ์ที่กวีนิยมนำมาใช้ที่สุด นั่นก็เพราะว่า โคลงสี่สุภาพ มีลักษณะบังคับอย่างคำเอกคำโท ทำให้เมื่อแต่งออกมาแล้วก็จะมีความไพเราะและมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยอยู่มาก ๆ ด้วยค่ะ เพื่อเป็นการทบทวนและฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพให้คล่อง น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะสอนเรื่องฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รวมถึงวิธีแต่งโคลงสี่สุภาพอย่างง่าย ไปดูกันเลยค่ะ

 

ฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   หลังได้เรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าในเรื่องสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดแทรกคำสอนเรื่องใดไว้บ้าง รวมถึงคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ด้วย บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในสุภาษิตพระร่วงพร้อมเรียนรู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้กันค่ะ   ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องสุภาษิตพระร่วง     คำสอนที่ปรากฏในตัวบท ควรเรียนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เป็นเด็กควรเรียนหนังสือ พอโตขึ้นค่อยหาเงิน ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย อย่าเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง อย่ารีบด่วนสรุปเรื่อง่าง ๆ ให้ประพฤติตนตามแบบวัฒนธรรมที่ดีงาม

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1