เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน หรือแม้แต่ในขณะทำงานและยามว่างจากการทำงานด้วย เป็นเพลงที่มีทำนองง่าย ๆ ถ้อยคำภาษาที่ใช้ในเพลงก็เป็นคำที่เรียบง่าย แต่ฟังแล้วกินใจ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้านแต่ละภาค

 

เพลงพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นจะมีบทร้องและท่วงทำนองแตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติ ความเป็นอยู่ ความนิยม ละสำเนียงที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นนั้น ๆ

 

เพลงพื้นบ้าน

 

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ มีการร้องตอบโต้ระหว่างชาย-หญิง มีตั้งแต่บทไหว้ครู บทเกี้ยว และบทลา นิยมเล่นในงารประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตทางน้ำ

เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าว เป็นชื่อเพลงพื้นบ้านเพลงหนึ่งทางภาคกลางของไทย นิยมร้องในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าวหรือเสร็จจากการทำงาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าระหว่างการทำงาน สิ่งที่สำคัญของการร้องเพลงเกี่ยวข้าวคือ ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างเพื่อนบ้านที่ทำงานร่วมกัน การร้องเพลงเกี่ยวข้าวที่มักจะร้องถามถึงการทำนา และการเกี้ยวพาราสีกันบ้างตามประสาเพลงพื้นบ้าน

เพลงฉ่อย เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละประมาณสองถึงสามคน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นลูกคู่ เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่มีทั้งเรื่อง ทางโลก ทางธรรม ชิงชู้ และมักจะมีถ้อยคำ ที่มีความหมายสองแง่สองง่าม การแสดงเพลงฉ่อยจะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ แต่จะใช้การตบมือเป็นจังหวะแทน

 

 

ลำตัด เป็นการละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน มีลูกคู่และรำมะนาประกอบ การเล่นลำตัดดัดแปลงมาจากการแสดงดิเกหรือจิเกของชาวมลายู ซึ่งเป็นการขับร้องเพลงสวดบูชาพระอัลเลาะห์ประกอบจังหวะรำมะนาของชาวมุสลิม

 

เพลงภาคเหนือ

เพลงค่าว เป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ เป็นฉันทลักษณ์ของชาวล้านนาที่ระบุจำนวนคำในวรรคและสัมผัสระหว่างวรรคคือ “สามตัวเหลียว เจ็ดตัวเตียว บาทหลัง บาทหน้า”

เพลงจ๊อย เป็นวิธีขับลำนำ มักดำเนินท่วงทำนองไปอย่างช้า ๆ มีการเอื้อน และอาจมีเครื่องดนตรีบรรเลงคลอประกอบหรือไม่มีก็ได้

เพลงซอ เป็นการขับร้องที่มีซอเป็นเครื่องดนตรีที่ให้ทำนอง ซอจะต้องขับร้องด้วยถ้อยคำที่สัมผัสคล้องจองกัน ตามท่วงทำนองของเพลงซอ นั้น ๆ ซอแต่ละทำนองนั้นจะส่งคำสัมผัสและคำรับสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน “คำซอ” หรือบทขับร้องซอนั้น จะไม่ส่งสัมผัสเหมือนบทค่าวหรือบทกวีเลย แต่จะสัมผัสโยงถ้อยคำ ในทำนองแต่ละเพลงนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น

 

เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงเรือ เพลงพื้นเมืองภาคใต้ ทำนองเป็นกลอนเพลง สำหรับให้จังหวะในการพายเรือคล้ายภาคกลางแต่ภาษาที่ใช้ร้องเป็นภาษาถิ่นใต้

เพลงบอก คือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง ที่ร้องกันตามงานบุญประเพณี ทั้งงานบวช งานศพ หรืองานบุญทอดผ้าป่า ทอดกฐิน โดยเฉพาะ ช่วงวันสงกรานต์ จะมีคณะเพลงบอก จะเดินไปตามบ้าน ร้องเพลงบอกยกย่อง ชื่นชมเจ้าของบ้าน แล้วจบลงด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรเงินทองเข้าวัด

เพลงนา เป็นการละเล่นกลอนโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวในท้องนา งานวัดหรืองานมงคลต่าง ๆ เพื่อใช้สื่อความรักเกี้ยวพาราสีขณะหนุ่มไปเยือนสาวที่บ้าน การเล่นจะมีแม่เพลงซึ่งมีไหวพริบ รอบรู้ และท้ายไฟ (คนคอยเสริม) ด้วย

 

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน

เพลงเซิ้ง เพลงที่ร้องประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของคนอีสาน ร้องเพื่อให้คนที่ร่วมงานเกิดความสนุกสนานและเป็นการสนุกสนานร่วมกันระหว่างคนร้องและคนดูด้วย โดยการร้องเพลงเซิ้งจะมีคนขับกาพย์นำและจะมีลูกคู่คอยร้องรับด้วย เพลงเซิ้งจะมีลักษณะเป็นการด้นกลอนสด

เพลงหมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ

 

 

ตัวอย่างเพลงพื้นบ้านภาคกลาง

 

 

เพลงพื้นบ้านเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ที่ทำให้เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย คติชาวบ้าน คำประพันธ์ ภาษาถิ่น และวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลงที่สนุกสนานและไพเราะ แม้ว่าในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจะทำให้หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไปทำให้เพลงบางเพลงสูญหายไปเพราะไร้คนสืบทอด ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันรักษาเพลงพื้นบ้านของไทยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ความงดงามทางภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามเช่นเดียวกันกับเราด้วยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถติดตามความรู้ดี ๆ ได้จากการคลิปการสอนของครูอุ้ม โดยในบทเรียนเรื่องเพลงพื้นบ้านนี้ครูอุ้มก็ได้ยกตัวอย่างเพลงเรือของภาคกลางมา ไปดูกันเลยค่ะเพลงนี้มีการร้องและเล่นกันอย่างไรบ้าง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

จำนวนอตรรกยะ

จำนวนอตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนอตรรกยะ และหลักการของจำนวนอตรรกยะกับการนำไปประยุกต์

งานอดิเรก (Hobbies) ในยุคปัจจุบัน

  ในปัจจุบันงานอดิเรก (Hobbies) นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกแล้วยังสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  ให้เราได้อีกด้วย  หากมีใครก็ตามถามว่า what do you like to do in your free time? คุณชอบทำอะไรในเวลาว่าง ครูเชื่อว่านักเรียนจะต้องมีหลายคำตอบ เพราะปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ทำเยอะมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด งานอดิเรกนั้นต้องทำให้เราสนุกและมีความสุขกับการได้ทำมันแน่ๆ “Do what you love,

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ป6ทบทวน Past simple tense

ทบทวนการใช้ Past Simple ทั้งกับประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป ทบทวนการใช้ Past Simple ทั้งกับประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ กันน๊า Let’s go! ไปลุยกันเลยจ้า Past Simple Tense คืออะไร     Past Simple Tense คือโครงสร้างที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจบลงไปแล้วในอดีต สิ่งสำคัญที่นักเรียนต้องรู้คือ กริยาช่องที่สองที่บอกความเป็นอดีต คำบอกเวลาในอดีตและโครงสร้างประโยคที่สำคัญๆ นั่นเอง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1