เขียนแนะนำความรู้อย่างไรให้น่าอ่าน แค่ทำตามหลักการต่อไปนี้

การเขียนแนะนำความรู้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย วันนี้เราได้เตรียมสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนมาให้น้อง ๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์กัน โดยเนื้อหาที่เราจะมาเรียนในวันนี้จะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อแนะนำความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจหลักการง่าย ๆ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนให้ความรู้ผู้อื่น โดยที่น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้ หรือใช้กับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้เลย เป็นพื้นฐานการเขียนที่เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึกฝนจะได้นำไปเขียนได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันเลยดีกว่า

 

การเขียนแนะนำความรู้

 

การเขียนแนะนำความรู้ คืออะไร

การเขียนแนะนำ คือ การเขียน หรือบรรยายเพื่อบอกข้อปฏิบัติ ข้อควรรู้ วิธีใช้ หรือวิธีทำ ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน ถือเป็นรูปแบบการเขียนที่ให้ประโยชน์มาก ๆ

ลักษณะของการเขียนแนะนำความรู้

สำหรับการเขียนแนะนำที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้เรียนนั้นสามารถเขียนได้ในหลายลักษณะทั้งใช้แนะนำตัว แนะนำสถานที่ หรือแนะนำผู้อื่นให้รู้จักกับบางสิ่งบางอย่าง เช่นเดียวกับในเนื้อหาวันนี้เราจะมาเรียนรู้ลักษณะของการเขียนแนะนำความรู้ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกมาได้ถึง 5 ลักษณะ ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันว่าเราจะสามารถเขียนแนะนำความรู้ออกมาในลักษณะใดได้บ้าง

     1) แนะนำวิธีการใช้

การเขียนในรูปแบบแรกจะเป็นลักษณะการเขียนเพื่อบอกวิธีใช้ ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ตามฉลากของใช้ เครื่องอำนวยความสะดวก เครื่องครัว หรือเขียนติดไว้ท้ายขวดครีม สกินแคร์ เครื่องสำอางต่าง ๆ เพื่อชี้แนะ หรืออธิบายวิธีการใช้ของสิ่งนั้น มีทั้งในรูปแบบบรรยายยาว ๆ และเขียนแบบเป็นขั้นเป็นตอน เรามาดูตัวอย่างการเขียนประเภทนี้กันเลยดีกว่า

 

การเขียนแนะนำความรู้

     

     2) แนะนำแนวทาง

ต่อมาเป็นการเขียนแนะนำในลักษณะที่ให้แนวทางในการปฏิบัติ แนวทางในการป้องกัน รักษา หรือบอกถึงแนวทางที่ให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติตามกันได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี น้อง ๆ จะเห็นลักษณะการเขียนแบบนี้บ่อย ๆ ตามหนังสือ หรืออินเทอร์เน็ตที่ผู้รู้
ผู้เชี่ยวชาญต้องการจะให้แนวทางกับน้อง ๆ ในบางเรื่อง เดี๋ยวเราไปดูตัวอย่างเพื่อเพิ่มความเข้าใจกัน

 

การเขียนแนะนำความรู้

 

     3) แนะนำข้อบ่งใช้

สำหรับการเขียนแนะนำความรู้ในลักษณะต่อมาน้อง ๆ อาจจะเคยเห็นตามฉลากของยา หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการระบุข้อบ่งใช้ หรือข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้ยา ให้เราสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

 

การเขียนแนะนำความรู้

 

       4) แนะนำหลักการ

การเขียนแนะนำแบบสุดท้ายเป็นการให้ความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้หลักการในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่นวันนี้ที่เราได้มาเรียนรู้หลักการเขียนแนะนำความรู้ซึ่งก็จัดอยู่ในข้อนี้เหมือนกัน ถ้าน้อง ๆ ทำตามหลักการเหล่านี้ก็จะช่วยให้เขียนได้ดีขึ้น

หลักการเขียนแนะนำความรู้

หลังจากที่น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจในส่วนของลักษณะการเขียนแนะนำความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไปแล้ว เราก็ควรจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ในการเขียนแนะนำความรู้ให้คนอื่นได้

  1. ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจง่าย ได้ใจความเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องอ่านยาว ๆ
  2. ใช้ถ้อยคำให้สุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย หรือเป็นภาษาปากมากเกินไป เพราะไม่เหมาะกับการนำมาเขียนให้ความรู้
  3. นำเสนอด้วยวิธีที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้อ่าน เช่น การนำเสนอวิธีออกกำลังกายง่าย ๆ ด้วยการเดิน การวิ่ง การเต้นแอโรบิก หรือการปั่นจักรยาน
  4. ใช้การยกตัวอย่างประกอบเพื่อช่วยให้เราไม่ต้องใช้การอธิบายที่ยืดยาว เพียงแค่ยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาที่ต้องการจะแนะนำก็ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ

บทส่งท้าย

สำหรับเนื้อหาสาระที่เราเอามาฝากน้อง ๆ ในวันนี้เชื่อว่าถ้าได้เรียนแล้วก็จะสามารถเขียนแนะนำความรู้ต่าง ๆ ให้กับคนอื่นได้อย่างถูกต้อง และน่าอ่านมากขึ้น ทักษะการเขียนนั้นเป็นสิ่งที่น้อง ๆ ต้องใช้การฝึกฝนบ่อย ๆ ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ มีเวลาอย่าลืมฝึกเขียนแนะนำความรู้ในเรืื่องที่เราสนใจกันด้วย แต่สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาเรื่องนั้นมาให้ดี และต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องด้วย ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติม หรืออยากทบทวนเนื้อหาสามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนในคลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1