หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  2. สมเด็จพระราชินี, สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
  3. สมเด็จเจ้าฟ้า
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  6. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  7. หม่อมเจ้า

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

นับตั้งแต่ขึ้นรัชกาลใหม่ รัชกาลที่ 10 ลำดับรวมถึงพระยศของพระบรมวงศานุวงศ์ก็ถูกเปลี่ยนและแต่งตั้งยศขึ้นใหม่ จะมีใครบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

การใช้คำนามราชาศัพท์

พระบรม/พระบรม หรือ บรมราช ใช้คำหน้าสิ่งของสำคัญ น่ายกย่อง ใช้ได้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

ตัวอย่างคำ

พระบรมเดชานุภาพ

พระบรมราชโองการ

พระบรมมหาราชวัง

 

พระราช ใช้คำหน้าคำที่สำคัญรองลงมา

ตัวอย่างคำ

พระราชหัตถเลขา

พระราชดำริ

พระราชทรัพย์

 

พระ ใช้คำนามสามัญทั่วไป

ตัวอย่างคำ

พระหัตถ์

พระบาท

พระมาลา

พระกระยาหาร

 

 

การใช้ทรง

คำว่า ทรง เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำกริยาธรรมดาให้เป็นราชาศัพท์ มีหลักการใช้ง่าย ๆ ดังนี้

– คำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติมทรงนำหน้า เช่น ประทับ, ตรัส, ผนวช, สุบิน เป็นต้น

– ใช้ ทรง นำหน้าคำสามัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงกีฬา, ทรงม้า, ทรงช้าง

– ใช้ ทรง นำหน้าคำหน้าคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา, ทรงพระสุบิน

 

การใช้คำว่าเสด็จ

– นำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เป็นต้น

– นำหน้าคำนามราชาศัพท์เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เป็นต้น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลักการใช้คำราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ถึงจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างตามยศที่ลดหลั่นกันลงมา แต่ก็ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปติดตามคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ เพิ่มเติม อย่างการสอนอ่านชื่อพระบรมวงศานุวงศ์ไทยให้ถูกต้อง ไปชมกันเลยค่ะ

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

ในบทความนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่ทำให้เข้าใจง่ายและมีวิธีในการวิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลาย

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

กาพย์พระไชยสุริยา ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง   ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา   ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1