ศึกษาตัวบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โคลนติดล้อ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การปลุกใจคนไทยให้รักชาติ และมีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แค่นี้ก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ แต่ความดีเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกมาก บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทที่สำคัญและคุณค่าของบทความที่ 4 ในเรื่องโคลนติดล้อตอน ความนิยมเป็นเสมียน พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

บทเด่นใน โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

ความนิยมเป็นเสมียน

บทนี้พูดถึงความนิยมในการเป็นเสมียนของหนุ่มสาวในยุคนั้นที่สนใจงานเสมียนมากกว่าการกลับไปช่วยทำการเกษตรที่บ้านเกิดเพราะเห็นว่าเสียเวลา คิดว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง จึงไม่สมควรที่จะไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้

 

ความนิยมเป็นเสมียน

 

ในการทำงานเสมียน ไม่สามารถทำได้ตลอดไปเพราะเมื่อถึงเวลาหนึ่งเมื่อเห็นว่าทำงานไม่ได้แล้วก็จะถูกคัดออก บรรดาเสมียนที่เคยทำแต่งานเสมียน ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย จุดจบก็จะมีด้วยกันสองทางคือ ถ้าเป็นคนดี คนทำงานสุจริตก็แอบไปใช้ชีวิตบั้นปลายแล้วตายไปอย่างเงียบ ๆ แต่ถ้าเลือกทางทุจริต ก็จะมีความสุขอยู่พักหนึ่งแต่สุดท้ายก็ต้องถูกจับและจำคุก ไม่ว่าจะทางไหนก็น่าเวทนาไม่ต่างกัน

 

ข้อคิดของเรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

1. อย่าทะเยอทะยานเกินตัว ให้พึงพอใจในสิ่งที่ตนมี

2. อาชีพทุกอาชีพมีความสำคัญ และทำคุณประโยชน์ให้ประเทศได้ไม่ต่างกัน

3. เกษตรก็ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ ไม่ใช่อาชีพของคนไม่มีความรู้หรือเสียเกียรติ

4. อย่าลืมถิ่นฐานบ้านเกิด

5. ต้องรู้จักมองหาสิ่งที่ตัวเองทำได้ อย่ายึดติดแต่สิ่งที่เคยทำแล้วคิดว่าจะต้องทำสิ่งนั้นเพียงอย่างเดียวตลอดไป

 

คุณค่าในโคลนติดล้อ

 

ด้านวรรณศิลป์

บทประพันธ์มีการสรรคำได้อย่างเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยศิลปะในการใช้ภาษา ดังนี้

 

ด้านสังคม

1. สะท้อนภาพชีวิตและค่านิยมของสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่คนไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกมาก คนหนุ่มสาวมีการศึกษาขึ้นทำให้ความคิดเปลี่ยนไปหลาย ๆ อย่าง เช่นการดำรงชีพ หน้าที่การงาน มองภาพเมืองหลวงดีกว่าบ้านเกิด ไปดูหนัง จับจ่ายเกินตัว

2. ปัญหาของสังคมในยุคที่หนังสือพิมพ์แผ่หลาย คนนิยมอ่านหนังสือพิมพ์แต่เชื่อทุกอย่างโดยขาดไตร่ตรอง ส่งผลให้มีอคติคิดลบต่อรัฐบาล

 

โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมของเสมียน เป็นบทความที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังสามารถใช้เป็นงานเขียนที่ช่วยให้คนไทยตระหนักถึงการใช้ชีวิต การทำงาน และสำนึกรักในบ้านเกิดเมืองนอนได้อยู่เสมอ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปของครูอุ้มเพื่อฟังการสรุปความรู้ของเรื่องได้ รับรองว่าน้อง ๆ จะสามารถเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้อย่างง่ายดายโดยใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น ไปรับชมและรับฟังกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้ การบวกจำนวนเต็ม การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ |-12|=   12 |4|=   4

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1