ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

 

ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

 

ถอดความ ให้รักษากษัตริย์หรือก็คือดวงใจไว้ ให้รีบหายา และห้ามแพทย์โกรธหรือไม่พอใจ เพราะถ้าโรคเกิดขึ้นอาจทำให้คนไข้ถึงแก่ความตาย น้ำดีในตับที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารเปรียบเหมือนเสบียงเลี้ยงกองทหาร ทางทั้งสามแห่งอย่างหัวใจ น้ำดี อาหาร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรักษาให้ดีเพราะถ้ามีข้าศึกหรือโรคร้ายบุกมาก็อาจจะทำให้พลาดโอกาสรักษา

 

เกร็ดน่ารู้ ปิตตํ หรือน้ำดี ถึงเป็นวังหน้า?

วังหน้า สถานที่ที่ประทับของบุคคลที่มีสถานะสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ มีความสำคัญในแง่ของการปกป้องเมือง เช่นเดียวกัน เมื่อเรากินอาหารที่มีไขมันเข้าไป อาหารที่ประเภทไขมันที่ตกถึงกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่กระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัวส่งน้ำดีผ่านลงไปทางท่อนำน้ำดีเพื่อย่อยไขมันเหล่านั้น น้ำดีจึงเปรียบเหมือนวังหน้าซึ่งเป็นด่านแรกที่จะต้องเจอกับข้าศึกนั่นเอง

 

คุณค่าใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

 

ด้านเนื้อหาและสังคม

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ มีรูปแบบเป็นตำราที่ใช้สอนแพทย์ เพราะเนื้อนั้นมีตั้งแต่คุณสมบัติไปจนถึงจรรยาบรรณแพทย์ ลักษณะของแพทย์ที่ไม่ดีและดี ทำให้ได้เห็นคุณธรรมของแพทย์ได้อย่างเข้าใจง่ายมากขึ้น ทั้งนี้ยังสะท้อนด้านความเชื่อที่เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บูชาพระรัตนตรัย เทพ รวมไปถึงหมอชีวก ทำให้เห็นความศรัทธาในศาสนาพุทธของคนไทย

 

 

ด้านวรรณศิลป์

มีการใช้อุปมาโวหารในการเปรียบเทียบร่างกายกับบ้านเมือง เรียกว่ากายนคร นอกจากนนี้กวียังเลือกคำมาใช้ได้อย่างชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีการใช้ถ้อยคำอธิบายโดยการใช้คำสั้น ๆ กระชับ เพราะจุดประสงค์หลักของการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปอ่านได้เหมือนกัน ไม่ใช่แค่แพทย์ ทำให้คำศัพท์ในเรื่องนั้นจะไม่เป็นคำที่ยากจนเกินไป

 

 

ตำราแพทย์โบราณนี้ถือเป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เพราะนอกจากจะมีความงดงามทางภาษาที่ถูกแต่งให้อยู่ในฉันทลักษณ์ไพเราะในแบบฉบับของไทย ก็ยังมีคุณค่าด้านวิชาการความรู้ที่สำคัญอย่างมาก สะท้อนให้วิทยาการทางการแพทย์ในสมัยนั้นรวมไปถึงจรรยาบรรณแพทย์ที่ต้องบอกว่าแม้เวลาจะผ่านเป็นร้อยปี แต่ลักษณะที่ดีของแพทย์อย่างที่ควรจะเป็นก็ไม่ได้เชยหรือล้าหลัง ที่สำคัญคือเป็นตำราแพทย์ที่มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษา มีความรู้ทางการแพทย์พื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อจะได้เข้าใจถึงตัวบทและสรุปความรู้โดยรวมได้ง่ายมากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

รากที่ n ของจำนวนจริง

รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

รากที่ n ของจำนวนจริง รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x   เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้ นิยาม ให้  x, y เป็นจำนวนจริง และ n

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งอสมการ เป็นประโยคที่แสดงถึงการไม่เท่ากัน โดยมีวิธีการหาคำตอบคล้ายๆกับสมการ น้องๆสามารถศึกษาบทความเรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อศึกษาวิธีการแก้สมการและนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้อสมการเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว⇐⇐ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว        อสมการ (inequality) เป็นประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  <, >, ≤, ≥ หรือ ≠  แสดงความสัมพันธ์         อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1