ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ราชาธิราช

 

หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง

 

ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

 

 

บทเด่น ๆ บทที่ 1 

 

บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี สมิงพระรามทูลขอม้าฝีเท้าดีกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง โดยจะเป็นคนเลือกม้าด้วยตัวเอง แต่กลับเลือกนาน ไม่เจอม้าที่ถูกใจเสียที สมิงพระรามจึงได้ให้เหตุผลว่าทำไมตนถึงเลือกม้านาน เพราะการจะรู้ว่าม้าที่ดีนั้นเป็นอย่างไร จะต้องเอามือทาบบนหลังก่อนถึงจะรู้ เหมือนการเลือกช้างดี ๆ ก็ต้องลองขี่ก่อน หรือการมองหาว่าทหารคนไหนดี ก็ให้ดูว่าคนไหนกล้าที่จะอาสาไปรบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีตัวชี้วัดหาคุณสมบัติที่ดี ดังนั้นจึงไม่สามารถเลือกแบบส่ง ๆ ได้

 

บทเด่น ๆ บทที่ 2

 

บทนี้เป็นตอนที่เสร็จสิ้นการท้าทวนกับกามะนี สมิงพระรามยื่นข้อเสมอกับเจ้าเมืองว่าหากไม่ฆ่าตนก็ให้ปล่อยกลับกรุงหงสาวดี ด้านพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเห็นว่าสมิงพระรามเป็นคนช่วยกอบกู้บ้านเมืองจึงไม่อยากจะเสียไป แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงคิดจะยกพระธิดาให้ เพื่อที่จะให้สมิงพระรามตกหลุมรักและไม่อยากกลับเมือง เพราะเชื่อว่าสิ่งเดียวที่จะรั้งให้คนที่รักบ้านเมืองตนเองอย่างสมิงพระรามอยู่ ไม่ใช่มนตราหรือเครื่องจองจำแต่เป็นความรัก

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

 

 

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

  1. มีการใช้สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายหรือสนับสนุนความคิดเห็น ให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น ตอนสมิงพระรามเลือกม้า ก็จะได้ยกตัวอย่างการเลือกม้าเทียบการเลือกช้าง เลือกทอง หรือเลือกสตรี ให้เห็นภาพมากขึ้น
  2. ใช้ภาษาง่าย แต่เปรียบเทียบได้อย่างคมคาย เช่น ” พระเจ้ากรุงจีนยกมาครั้งนี้อุปมาดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้ำนองท่วมป่าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันตฤดูนั้นหาสิ่งใดจะต้านทานมิได้” หมายถึง กองทัพของพระเจ้ากรุงจีนเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครสามารถต้านทานได้

 

 

คุณค่าด้านสังคม

ราชาธิราชเป็นพงศาวดารเก่าแก่ ดังนั้นในเรื่องจะสะท้อนความเชื่อและค่านิยมของคนสมัยก่อนได้อย่างชัดเจน ดังนี้

  1. ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ ก่อนจะทำศึก เพื่อไม่ให้บ้านเมืองต้องแพ้ภัย พระเจ้าแผ่นดินจึงมักจะให้โหรฯทำนายบ้านเมืองและหาฤกษ์งามยามดีเพื่อให้การรบเป็นไปอย่างราบรื่น
  2. การส่งเครื่องราชบรรณาการ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
  3. การรักษาสัจจะของกษัตริย์และการปูนบำเหน็จ ในอดีตสัจจะของกษัตริย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อพูดแล้วจะไม่คืนคำ และเมื่อใครทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติหรือทำตามความต้องการให้สำเร็จได้ก็จะปูนบำเหน็จรางวัลให้อย่างดี ดังที่สมิงพระรามได้รับหลังนำศีรษะของกามะนีกลับมาให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
  4. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เห็นได้ในตอนที่สมิงพระรามแม้จะอาสาไปรบให้กับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อลาภยศ เพราะใจจริงแล้วก็ทำเพื่อกรุงหงสาวดี และยังคงจงรักภักดีต่อพระเจ้าราชาธิราช พระมหากษัตริย์ของตน หากทั้งสองเมืองจะทำฝึกกันก็ขอไม่ช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

 

 

ราชาธิราชไม่เพียงแต่เป็นบทประพันธ์ที่สนุกและน่าติดตาม แต่ยังเป็นเรื่องที่สอดแทรกข้อคิดและให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย ทีนี้น้อง ๆ พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมเรื่องราชาธิราชจึงต้องอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยและทำไมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงทรงให้นำมาแปลและเรียบเรียงใหม่เพื่อคนไทย สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบท น้อง ๆ สามารถไปดูได้ที่คลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้ม นอกจากจะสอนเรื่องตัวบทแล้ว ครูอุ้มยังได้แทรกเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมิงพระราม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อน้อง ๆ มากในการทำข้อสอบ ไปรับชมและรับฟังกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

M5 Past Passive

Passive Voice ในอดีต

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1