บทนำ
สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย
ประวัติความเป็นมา
สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38 ประการในพระไตรปิฎกซึ่งเดิมทีเป็นภาษบาลีแล้วนำมาแต่งเป็นร้อยแก้ว โดยใช้คำประพันธ์ถึง 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 เรียบเรียงออกมาได้อย่างไพเราะ ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการศึกษาเรื่องของประวัติความเป็นมาเพิ่มเติมอย่างละเอียดก็สามารถเข้าไปดูเนื้อหาในบทความที่ทางเราได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ได้
ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ
หลังจากที่เราได้ทบทวนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปพอสมควรแล้ว อีกส่วนที่น้อง ๆ ควรจะได้
เรียนรู้จากวรรณคดีเรื่องนี้คือความสวยงามทางภาษา และคุณค่าทางวรรณศิลป์ โดยบทเรียนที่น้อง ๆ มักจะได้เรียน หรือเป็นที่รู้จักกันดีคืออุดมมงคล หรือคาถาทั้ง 11 บทที่ได้รวบรวมเอามงคลทั้ง 38 ประการไว้ด้วยกันแล้ว ซึ่งแต่ละบทนั้นก็สามารถแต่งออกมาได้อย่างไพเราะงดงาม ดังนั้น วันนี้เราจะพาน้อง ๆ มาถอดความแต่ละบทกันว่าจะได้ใจความออกมาว่าอย่างไรบ้าง
ถอดความได้ว่า
ละเว้นจากการคบคนพาล ให้คบหาบัณฑิต และบูชาคนที่เราควรจะบูชา แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
ให้เลือกอยู่ในสถานที่ที่เหมาะควร มีบุญวาสนาที่เคยได้ทำไว้ในชาติปางก่อนคอยเกื้อหนุน และประพฤติตนในทางที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
เป็นผู้ที่รับฟังให้มาก มีความชำนาญในวิชาชีพที่จะทำ อยู่ในระเบียบวินัย พูดจาปราศรัยกับผู้อื่นด้วยคำพูดที่ดี แล้วทั้ง 4 ประการนี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
บำรุงดูแลบิดามารดาให้สุขสบาย ถ้ามีภรรยาและลูกก็ให้ดูแลทะนุถนอมอย่างดี การงานที่ทำอยู่อย่าให้ติดค้าง หรือขัดข้อง แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
หมั่นให้ทานและประพฤติตนอยู่ในทางธรรม พร้อมทั้งคอยจุนเจือเกื้อหนุนญาติผู้ใหญ่ ประกอบอาชีพที่สุจริตแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
ให้งดเว้นจากการทำบาป งดเว้นจากการดื่มของมึนเมา ไม่ประมาทในทางธรรมแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
ให้เกียรติและเคารพผู้อื่น รู้จักนอบน้อมถ่อมตน อยู่อย่างสันโดษให้ได้ และไม่ละโมบโลภมาก หรือทะเยอทะยานมากจนเกินไป ต้องมีความกตัญญู หากมีโอกาสให้หาเวลาฟังธรรมะบ้างแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
มีความอดทนอดกลั้น เป็นคนที่ว่าง่ายสอนง่าย ให้ประพฤติตนตามอย่างครูบาอาจารย์ และหาเวลามาสนทนาธรรมบ้างเพื่อสร้างกุศลแล้วทั้ง 4 ประการนี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
พยายามบำเพ็ญเพียร (ตบะ) เพื่อลดกิเลสและโทษะ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ละเว้นจากความชั่วทั้งหลาย เข้าใจความเป็นไปของชีวิต (อริยสัจ) และเรียนรู้วิธีที่จะนำไปสู่การนิพพาน (การดับกิเลส และทุกข์ทั้งหลาย และตายจากไปอย่างหมดห่วง) แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
ไม่ปล่อยจิตให้หวั่นไหว อย่าปล่อยจิตใจให้เศร้าโศก ทำจิตใจให้ปราศจากความทุกข์ และความมัวหมอง ปล่อยใจให้สบายแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะนำพาความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต
ถอดความได้ว่า
ไม่ว่าจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ตนใด ถ้าหากได้ประพฤติปฏิบัติตนตามอุดมมงคลทั้ง 38 ประการนี้ ก็จะนำมาซึ่งความสุขความเจริญกลายเป็นผู้ที่มีความประเสริฐ และประสบความสำเร็จทุกประการ
บทส่งท้าย
ทั้งหมดนี้ก็คือตัวบทจากวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัชกาลที่ 6 ตั้งใจจะแต่งไว้ให้ทุกคนใช้เป็นแนวทางในการประพฤติตนในทางที่เหมาะควร แล้วจะทำให้ชีวิตได้รับแต่สิ่งดี ๆ มีแต่ความสุขความเจริญ จะเห็นได้ว่ามีการนำกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 มาแต่งร่วมกันได้อย่างไพเราะจับใจ ถือเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันธำรงรักษาไว้ให้ได้ศึกษาคุณค่าทางภาษา และวรรณศิลป์กันต่อไปในหลาย ๆ แง่มุม ส่วนถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะทบทวนเรื่องตัวบทอีกรอบก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย