Second Conditional Sentence: ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence หรือ If Clause รูปแบบที่ 2 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
second conditional

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Second Conditional

โครงสร้างประโยคแบบ Second Conditional หรือที่น้องๆ อาจจะรู้จักในชื่อ If Clause แบบที่ 2 นั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ หรือเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งโครงสร้างของมันคือ

second conditional structure

 

วิธีการใช้

เราสามารถจำแนกวิธีการใช้ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง อาจจะเกิดจากการจินตนาการหรือเพ้อฝัน เช่น

If I won the lottery, I would buy a new laptop.
(ถ้าฉันถูกหวย ฉันจะซื้อแล็ปท็อปเครื่องใหม่)

 

If she married Robert Pattinson, she would be happy.
(ถ้าเธอแต่งงานกับโรเบิร์ต แพตตินสัน เธอจะมีความสุข)

example

 

  • ใช้พูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน เช่น

If I had his number, I would call him.
(ถ้าฉันมีเบอร์เขา ฉันจะโทรหาเขา)
=ความจริงคือฉันไม่มีเบอร์เขา

If I were you, I wouldn’t go out with that guy.
(ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะไม่ออกไปกับผู้ชายคนนั้น)
=ความจริงคือฉันไม่ใช่เธอ

If she studied hard, she would pass the exam.
(ถ้าเธอเรียนหนัก เธอจะสอบผ่าน)
=ความจริงคือเธอไม่ตั้งใจเรียน และสอบไม่ผ่าน

second conditional

 

ข้อควรจำ

  • น้องๆ สามารถสลับประโยคที่เป็นเหตุและผลกันได้ เช่น

If I had his number, I would call him. = I would call him if I had his number.

โดยหากคำว่า if อยู่กลางประโยคน้องๆ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายคอมม่า (,) แต่หาก if ขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่าคั่นระหว่างประโยคทุกครั้ง

  • นอกจากกริยา would แล้ว น้องๆ สามารถใช้ could หรือ might แทนได้เช่นกัน
  • ประธานไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์หากอยู่ในโครงสร้างนี้โดยใช้ Verb to be จะใช้ were ตัวเดียวเท่านั้น
  • ประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 2 นี้ออกข้อสอบบ่อยมากๆ ฉะนั้นน้องๆ ต้องหมั่นใช้ให้คล่องนะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับประโยคแบบ Second Conditional หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ม. 5 ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบนะครับ หากน้องๆ คนไหนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Finite and Non- Finite Verb

Finite and Non- Finite Verb

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนการใช้ “Finite and Non- Finite Verb” ในภาษาอังกฤษกันจร้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า   คำเตือน: การเรียนเรื่องนี้จะทำให้นักเรียนมึนงงได้หากว่าพื้นฐานเรื่อง Part of speech, Subject , Tense, Voice และ Mood ของเราไม่แน่น

เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

เรียนรู้เทคนิคที่จะช่วยให้การเขียน ผังมโนภาพ เป็นเรื่องง่ายๆ

  ผังมโนภาพ เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นจากจดบันทึกความคิด ความรู้ ความเข้าใจ น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้รับโจทย์จากคุณครูให้เขียนแผนผังมโนภาพเพื่อทดสอบความเข้าใจ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะเขียนออกมา แต่ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วมีวิธีการเขียนที่ง่ายมากแถมยังมีประโยชน์อีกด้วย จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของผังมโนภาพ   ผังมโนภาพเป็นแผนผังหรือแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ที่เริ่มจากความคิดหลัก ซึ่งทำหน้าที่เป็นชื่อเรื่อง แล้วแตกแขนงไปสู่ความคิดย่อย ๆ กระจายออกไปโดยรอบ ทำให้เกิดภาพเชื่อมโยงขององค์ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งในทุกแง่มุม   วิธีเขียนแผนผังมโนภาพ   ผังมโนภาพเป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่าง

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1