ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ

 

ร่าย คืออะไร?

 

ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย มีความเก่าแก่ ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของไทยหลายเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น
ร่ายเป็นคำประพันธ์ที่มีคนนิยมแต่งกันแพร่หลาย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายไม่เคร่งเรื่องจำนวนคำในวรรคเหมือนคำประพันธ์ชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งสัมผัสเป็นพิเศษกว่าคำประพันธ์ชนิดอื่น เพราะร่ายจะส่งสัมผัสต่อกันระหว่างวรรคทุกวรรคไปจนจบ

 

ประเภทของร่าย

 

ร่ายมี 4 ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายสุภาพ

 

ในบทเรียนเรื่องแต่งร่ายวันนี้ ร่ายประเภทที่น้อง ๆ จะได้เรียนคือร่ายสุภาพ นิยมแต่งกันแพร่หลายมาจนปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

 

 

ฉันทลักษณ์ของ ร่ายสุภาพ

 

คณะ

1. ร่ายสุภาพ 1 บท ไม่จำกัดจำนวนวรรค แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 วรรค

2. วรรคหนึ่งมี 5 คำ หรือจะมากกว่า 5 ก็ได้ แต่จังหวะในการอ่านต้องไม่เกิน 5

3. เมื่อจบบท ต้องจบที่โคลงสองสุภาพ

 

สัมผัส

1.บังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอกซึ่งเป็นสัมผัสสระ

2. คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่1,2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ

 

เอกโท

1. ร่ายสุภาพบังคับรูปวรรณยุกต์เอกและโทใน 3 วรรคสุดท้ายที่เป็นโคลงสองสุภาพ

ถ้าคำสัมผัสที่ส่งเป็นคำเป็นหรือคำตาย คำที่รับสัมผัสจะต้องเป็นคำเป็นหรือคำตายด้วย และคำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย

 

คำสร้อย

 

 

1. เติมสร้อยในตอนสุดท้ายของบทได้อีก 2 คำ หรือจะเติมทุก ๆ วรรคของบทก็ได้

2. แต่ถ้าถึงโคลงสองจะต้องเว้นให้คำสร้อยของโคลงสองเอง

3. สร้อยชนิดนี้ต้องเหมือนกันทุกวรรค เรียกว่า สร้อยสลับวรรค

 

โคลงสองสุภาพ

 

เป็นข้อบังคับที่จะต้องมีในการแต่งร่ายสุภาพเมื่อจบบท เรามาดูกันค่ะว่าการแต่งโคลงสองสุภาพนั้นมีลักษณะอย่างไร

 

 

ฉันทลักษณ์ของโคลงสองสุภาพ

 

คณะ

1.โคลงสองสุภาพ 1 บทมี 14 คำ ไม่รวมคำสร้อย

2. โคลงสองสุภาพ 1 บท แบ่งเป็น 3 วรรค

3. วรรคที่ 1 และ 2 มี 5 คำ

4. วรรคที่ 3 มี 4 คำ หลังวรรคที่ 3 อาจมีคำสร้อยต่อท้ายหรือจะไม่มีก็ได้

 

สัมผัส

1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

2. โคลงสองสุภาพไม่บังคับสัมผัสระหว่างบท แต่อาจมีการเพิ่มสัมผัสระหว่างบทเพื่อความไพเราะโดยส่งสัมผัสจากคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคที่ 1 ของบทถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ เพื่อเสริมให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

 

เอกโท

1.มีคำวรรณยุกต์เอกหรือคำตาย 3 คำ

2. คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท 3 คำ

3. คำเอกจะอยู่ที่คำที่ 4 ของวรรคแรก คำที่ 2 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 1 ของวรรคที่ 3

4. คำโทอยู่ที่คำที่ 5 ของวรรคแรก คำที่ 5 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 2 ของวรรคที่ 3

5. ในกรณีที่หาคำเอกโทมาลงไม่ได้ สามารถใช้คำเอกโทษและโทโทษได้

 

ร่ายสุภาพเป็นหนึ่งในคำประพันธ์ ประเภทบทร้อยกรองที่ต้องบอกว่าแต่งง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อนเหมือนประเภทอื่น ๆ เลย ลักษณะบังคับก็มีไม่มาก น้อง ๆ คนไหนที่ไม่คุ้นหูกับร่ายสุภาพและเคยเข้าใจว่าเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก ต้องคิดกันใหม่แล้วลองแต่งเล่น ๆ เพื่อเป็นการฝึกฝนและทบทวนบทเรียนไปในตัว สุดท้ายนี้ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังมีจุดที่ยังข้องใจ ไม่เข้าใจอยู่ ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ รับรองว่าถ้าฟังที่ครูอุ้มสอนจบ การแต่งร่ายสุภาพจะกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ทุกคนแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1