รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

มงคลสูตร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

 

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง
มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี
ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล
38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ประวัติความเป็นมา เรื่อง มงคสูตรคำฉันท์

 

ก่อนที่เราจะไปดูตัวบทของเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ สิ่งที่เราควรต้องรู้ก็คือเรื่อง ประวัติความเป็นมาเพื่อให้เราเข้าใจทั้งภูมิหลัง และความสำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ได้อย่างดี สำหรับผู้ที่แต่งเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ขึ้นมานั่นก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2466 ซึ่งเดิมทีพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงคิดหาหนทางที่จะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการทำความดีมีศีลธรรม ด้วยความเชื่อที่ว่าสิริมงคลจะเกิดกับตัวเราได้ก็ขึ้นอยู่กับผลจาก
การกระทำของตัวเราเองทั้งสิ้น โดยรัชกาลที่ 6 ทรงนำหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคาถาภาษาบาลีอย่างอุดมมงคล หรือมงคลสูตรมาแปลความแล้วนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองตามบังคับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้นได้อย่างไพเราะ โดยที่ความหมายไม่ผิดเพี้ยนไปจากในภาษาบาลีเลย แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพทางภาษา และการแต่งคำประพันธ์ของรัชกาลที่ 6 ได้เป็นอย่างดี

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

เรื่องย่อที่มาของมงคลสูตรคำฉันท์

 

เดิมที ‘มงคลสูตร’ เป็นคำสอนที่ได้รับการจารึกไว้ในพระไตรปิฎกตามรูปแบบคาถาภาษาบาลี แต่ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงนำมาแปลความแล้วแต่งเป็นร้อยกรองจนเกิดเป็นมงคลสูตรคำฉันท์ หรือที่หลายคนรู้จักกันว่าเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการ โดยเรื่องราวในวรรณคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์ได้มาเทศนาเนื่องในโอกาสสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 พระอานนท์ได้เล่าถึงพระสัมมาสัมพุทธเมื่อครั้งที่มีเหล่าเทวดาลงมาขอให้พระองค์ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องมงคล เพราะเหล่าเทวดาทั้งหลายกำลังทะเลาะกันเรื่องหลักมงคลที่แต่ละศาสนามีความเชื่อ และความเข้าใจแตกต่างกัน ทำให้เหล่าเทวดานั้นเกิดการขัดแย้งกันเอง และหาจุดคลี่คลายไม่ได้มานานกว่า 12 ปี จึงอยากให้พระพุทธเจ้าช่วยเทศนาเทวดาเหล่านี้ให้เข้าใจร่วมกัน พระพุทธเจ้าจึงได้ขึ้นไปเทศนามงคล 38 ประการให้เหล่าเทวดาได้ฟัง ซึ่งหลังจากเทศนาจบเหล่าเทวดา
ก็เกิดบรรลุธรรม และได้นำมงคลสูตรนี้ไปเผยแพร่
ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้นำเรื่องการเทศนาครั้งนี้
มาเล่าให้พระอานนท์ฟังเพื่อหวังให้พระอานนท์นำมงคลสูตรทั้ง 38 ประการนี้ไปเทศนา และเผยแพร่ต่อไป
ให้ผู้คนได้ยึดถือปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญในชีวิตนั่นเอง

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

 

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ในวรรณคดีเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ อย่างที่ได้บอกไปว่าด้วยพระอัจฉริยะภาพของรัชกาลที่ 6 แล้วพระองค์ได้เลือกใช้คำประพันธ์ในการแต่งเรื่องนี้ถึง 2 ชนิด ได้แก่ กาพย์ฉบัง 16 และอินทร์วิเชียรฉันท์ 11 ซึ่งเป็นรูปแบบคำประพันธ์ที่มีทั้งการบังคับสัมผัสคำคล้องจอง และการกำหนดเสียงสั้น เสียงยาวเพื่อให้เกิดความไพเราะ อีกทั้งแต่ละบทจะมีลักษณะพิเศษ คือ จบด้วยข้อความที่กล่าวว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี” โดยเป็นข้อความที่แปลมาจากคาถาภาษาบาลี (เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ) ดังนั้น เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบของคำประพันธ์ทั้ง 2 ชนิดนี้กัน

 

กาพย์ฉบัง16

 

กาพย์ฉบัง 16

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ชนิดแรกคือ กาพย์ฉบัง 16 ลักษณะของกาพย์ชนิดนี้ 1 บท จะมีเพียงแค่
3 วรรค แต่ละวรรคจะมีการกำหนดจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  •  วรรคสดับ (วรรคแรก) มีจำนวน 6 คำ
  •  วรรครับ (วรรคสอง) มีจำนวน 4 คำ
  •  วรรคส่ง (วรรคสาม) มีจำนวน 6 คำ

การสัมผัส

  • สัมผัสระหว่างวรรค คำสุดท้ายของวรรคแรกต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
  • สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของวรรคสามต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบทต่อไป
    จากนั้นก็จะใช้สัมผัสเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ จนจบ ซึ่งลักษณะการอ่านกาพย์ฉบัง16 จะแบ่งคำแบบ
    2-2-2 

 

อินทรวิเชียรฉันท์11

 

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

คำประพันธ์ในรูปแบบนี้จะมีลักษณะที่ยากขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากต้องใช้การกำหนดคำครุ คำลหุ หรือเสียงหนัก – เบา ในแต่ละวรรค โดยใน 1 บทจะประกอบไปด้วย 2 บาท และใน 1 บาทก็จะมี 2 วรรค ในแต่ละวรรคก็จะกำหนดให้มีจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  • วรรคหน้าจำนวน 5 คำ
  • วรรคหลังจำนวน 6 คำ

นอกจากในส่วนของการกำหนดจำนวนคำแล้วสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของการแต่งคำประพันธ์แบบ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ก็คือการกำหนดคำครุ คำลหุ หรือคำหนัก – เบา ซึ่งเราจำเป็นจะต้องจำตำแหน่งของ
คำครุ คำลหุให้ดี เพื่อการสัมผัสที่คล้องจอง และถูกต้องตามหลัก

คำครุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้แต่ต้องมีตัวสะกดตามมาตราตัวสะกด ได้แก่ กก กด กบ กม กน กง เกย เกอว หรือเป็นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในเสียงที่มีตัวสะกดเช่นกัน โดยจะแทนด้วยไม้หันอากาศ ( -ั )

คำลหุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา หรือไม่มีตัวสะกด รวมไปถึงคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ โดยจะแทนด้วยสระอุ ( -ุ )

การสัมผัส

  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหน้าไปสัมผัสกับคำครุตัวที่ 3 ของวรรคหลัง
  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหลังไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรคหน้าของบาทที่ 2
  • คำครุตัวสุดท้ายในวรรคหลังของบาทที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรค 2 ของบทถัดไป

** แนะนำให้น้อง ๆ ดูรูปภาพประกอบไปด้วยเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

บทส่งท้าย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างหลังจากที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และเรื่องย่อของวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไป ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นหรือเปล่า จริง ๆ ต้องบอกว่าเนื้อหาของวันนี้ยังมีอีก ซึ่งในส่วนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปดูตัวบทที่น่าสนใจจากเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์กัน เราจะได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้รับการยกย่องว่าสามารถแต่งออกมาได้อย่างไพเราะมาก ๆ สำหรับเนื้อหาวันนี้
ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะทบทวน หรือศึกษาเพิ่มเติมสามารถดูคลิปการสอนของครูพี่อุ้มที่ด้างล่างนี้ได้เลยรับรองว่าทั้งสนุก และได้ความรู้ไปเต็มที่แน่นอน

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล สมการเอกซ์โพเนนเชียล เป็นสมการที่จะมีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปร เช่น ,   จากบทความที่ผ่านมาเราได้พูดถึงฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปแล้ว ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียลซึ่งมีหลายวิธี  ซึ่งเรื่องสมการเอกซ์โพเนนเชียลนี้มักจะออกสอบบ่อยเรียกได้ว่าทุกปีเลย ดังนั้นวันนี้เราเลยยจะมาสอนน้องๆแก้สมการ และให้เทคนิคการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกับฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเข้าไปดูตามลิงค์นี้เลยค่ะ !!!ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล!!! การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล วิธีที่ 1 : ทำฐานให้เหมือนกัน เมื่อฐานเท่ากันแล้ว เราก็จะได้ว่าเลขชี้กำลังก็จะเท่ากันด้วย ตัวอย่าง    วิธีที่ 2 : ทำเลขชี้กำลังให้เหมือนกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1