บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

มัทนะพาธา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทั้งชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่องก็มีความหมายว่าความเจ็บปวดและความเดือดร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง

 

มัทนะพาธา

 

ลักษณะการประพันธ์

 

แต่งด้วยคำฉันท์ ที่ประกอบไปด้วยฉันท์และกาพย์ โดยที่ในตอนดำเนินเรื่องยาว ๆ จะใช้กาพย์ แต่ถ้าเน้นอารมณ์ตัวละคร เช่น คร่ำครวญหรือไหว้ครูก็จะใช้ฉันท์ แต่ในตอนที่ดำเนินเรื่องรวดเร็วก็จะใช้ร้อยแก้ว

 

มัทนะพาธา

 

เรื่องย่อ มัทนะพาธา

 

เป็นเรื่องสมมติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็นภาคสวรรค์และภาคพื้นโลกมนุษย์ เริ่มจากภาคสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่รับรัก สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา แต่ผลคือนางมัทนาเหม่อลอยอยู่ในมนต์ สุเทษณ์จึงขอให้มายาวินคลายมนต์ เมื่อได้สติแล้วนางมัทนาจึงปฏิเสธรัก สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางมัทนาลงไปเกิดเป็นมนุษย์

นางมัทนาขอให้ตัวเองได้ไปเกิดเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงให้นางไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ เป็นดอกไม้ที่งามทั้งกลิ่นและรูป แต่มีเฉพาะแค่ในสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมาก่อน โดยที่ดอกกุหลาบนั้นจะกลายเป็นมนุษย์แค่ 1 วัน 1 คืน ในวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และนางจะพ้นสภาพจากการเป็นกุหลาบก็ต่อเมื่อนางมีความรัก แต่นางจะได้รับความทนทุกข์จากความรัก เมื่อถึงเวลานั้น ให้นางมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือกับเทพบุตรสุเทษณ์

นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบในป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศินจึงขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ขณะทำการขุดก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง จึงรู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงเชิญนางมัทนาและสัญญาว่าจะปกป้องดูแล จึงทำการย้ายได้สำเร็จ หลังจากนั้นในคืนวันเพ็ญ ท้าวชัยเสนได้เสด็จออกล่าป่าและแวะมาพักที่อาศรมของฤษี เมื่อได้พบกับนางมัทนาที่แปลงร่างเป็นคนในคืนวันเพ้ญพอดีก็ตกหลุมรัก นางมัทนาก็มีใจเสน่หาต่อท้าวชัยเสนด้วยกัน ทั้งสองสาบานรักต่อกันทำให้นางมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นดอกไม้อีก

นางมัทนาตามท้าวชัยเสนกลับเมือง ทำให้นางจัณฑีผู้เป็นมเหสีโกรธมากจึงวางแผนใส่ร้ายว่านางเป็นชู้กับศุภางค์ผู้เป็นแม่ทัพ ท้าวชัยเสนเมื่อได้ยินข่าวก็เข้าใจผิด จึงสั่งประหารชีวิตทั้งคู่ แต่ทหารที่ได้รับคำสั่งมาประหารกลับรู้สึกสงสารนางจึงปล่อยไป นางมัทนากลับมายังป่าหิมะวันด้วยความโศกเศร้า จึงอ้อนวอนต่อเทพบุตรสุเทษณ์ให้มาช่วย เมื่อสุเทษณ์ลงมาก็ยื่นข้อเสนอให้นางมาเป็นคนรักเพื่อที่จะพากลับขึ้นไปบนสวรรค์ แต่นางมัทนายังคงปฏิเสธไม่รับรักอยู่ สุเทษณ์จึงโกรธและสาปให้นางมัทนากลายเป็นกุหลาบไปตลอดกาล ฝ่ายท้าวชัยเสนเมื่อเสร็จจากศึกสงครามก็เพิ่งรู้ความจริงว่านางมัทนาโดนใส่ร้ายจึงออกตามหา ก่อนจะพบว่านางได้กลายเป็นกุหลาบไปแล้ว จึงสั่งให้คนนำมาปลูกไว้ที่เมืองและดูแลไม่ให้ดอกไม้นี้สูญพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

วรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ได้สะท้อนเรื่องราวความรักในหลาย ๆ แง่มุม ทำให้เราได้เห็นโทษของการรักมากเกินไปมากขึ้นทำให้เกิดความทุกข์ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าของเรื่องนี้ในบทต่อไปค่ะ สำหรับบทเรียนในวันนี้น้อง ๆ สามารถตามดูการสอนของครูอุ้มได้ รับรองว่าจะสามารถจดจำเนื้อเรื่องของวรรณคดีได้อย่างครบถ้วน ไม่พลาดในการทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

past tense

Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

ผู้ชนะ

ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ     บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1