บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

Picture of Chisanucha
Chisanucha
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เค้าโครงเดิมเป็นคาถาภาษาบาลี

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ แต่งโดยใช้อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

 

ถอดความตัวบท

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

 

ถอดความ

กล่าวถึงการนอบน้อมในพระคุณของบิดามารดา ผู้ที่เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็ก แม้ว่าจะต้องเจอเรื่องยากลำบากแค่ไหนก็ยังคอยดูแลอยู่ไม่ห่าง อีกทั้งยังคอยปกป้องจากอันตรายจนลูกมีชีวิตรอดมาเป็นผู้ใหญ่ได้ พระคุณของบิดามารดา จึงยิ่งใหญ่กว่าภูเขาหรือผืนแผ่นดิน ไม่ว่าเราจะบูชาพระคุณนี้อย่างไรก็มิอาจทดแทนได้

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

 

ถอดความ

กล่าวถึงการสรรเสริญพระคุณของครูอาจารย์ ที่เปี่ยมด้วยความโอบอ้อม เป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนให้มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ให้บรรดามีความเข้าใจแจ่มแจ้ง และฉลาดหลักแหลม และยังมีความเมตตาเที่ยงตรง พระคุณของครูถือเป็นเลิศในสามโลก ลูกศิษย์ทุกคนควรระลึกและยกย่อง

 

คุณค่าที่ปรากฏในเรื่อง

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

วรรณศิลป์ที่โดดเด่นในบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณคือการเล่นเสียงสัมผัส

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

 

ทั้ง 2 บทนมัสการสอนเหมือนกันคือเรื่องของการกตัญญูรู้คน ให้สำนึกในพระคุณของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด และครูบาอาจารย์ที่ถึงแม้จะไม่ได้ให้กำเนิดแต่ก็เป็นผู้ที่เสียสละ คอยอบรมบ่มนิสัยและให้ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญเรื่องกตัญญูรู้คน จึงปลูกฝังให้กับเด็ก ๆ ผ่านแบบเรียนภาษาไทย

 

บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ เป็นบทอาขยานที่น้อง ๆ สามารถจำได้อย่างง่ายเพียงแค่ใช้ทำนองสรภัญญะ รับรองว่าน้อง ๆ จะสามารถจำได้และท่องบทร้อยกรองนี้ได้อย่างลื่นไหลเลยทีเดียวค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้สรุปความรู้ของบทนมัสการนี้ไว้ อย่าลืมไปดูเพื่อทบทวนบทเรียนกันนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

M2 V. to be + ร่วมกับ Who WhatWhere + -Like + infinitive

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1