ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

ประโยคในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายของประโยค

 

ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน มีหน้าที่สื่อความหมายให้สมบูรณ์

 

โครงสร้างของประโยคในภาษาไทย

 

ประโยคที่สมบูรณ์ จะประกอบไปด้วยภาคประธานและภาคแสดง โดยที่ภาคประธาน จะหมายถึงผู้กระทำเป็นส่วนสำคัญของประโยค อาจมีบทขยายมาทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนภาคแสดงจะประกอบไปด้วยกริยา  กรรม และส่วนเติมเต็ม ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือผู้ถูกกระทำของภาคประธาน ทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์มากขึ้น

 

ประโยคในภาษาไทย

 

วิธีสังเกต ประโยคในภาษาไทย

 

 

ประโยคความเดียว

 

ประโยคความเดียว  เป็นประโยคที่มุ่งกล่าวถึงประโยคใดประโยคหนึ่ง มีใจความสำคัญเพียงแค่หนึ่งใจความ โดยที่ภาคประธานอาจจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ แต่สิ่งนั้นจะต้องแดงกิริยาอาการอยู่ในสภาพเดียว

 

ประโยคในภาษาไทย

 

แต่ทั้งนี้ ไม่ได้ความหมายประโยคความเดียวจะต้องมีกริยาเพียงแค่ 1 เท่านั้นนะคะ เพราะในความเป็นจริง ก็มีประโยคความเดียวที่มีกริยา 2 ตัวเช่นกัน เพียงแต่ว่าหลักสำคัญของประโยคความเดียวคือต้องมีใจความเพียง 1 ใจความ ดังนั้นประโยคนั้นจะต้องมีกริยาหลัก 1 ตัว แต่จะมีกริยารองกี่ตัวก็ได้

ตัวอย่าง มานีชอบไปโรงเรียน ประโยคความเดียวนี้มีกริยาหลัก 1 ตัว คือ คำว่า ชอบ ส่วนกริยาคำว่า ไป เป็นกริยารอง เพราะใจความสำคัญของประโยคนี้คือมานีชอบไปโรงเรียน ไม่ใช่ไปโรงเรียนเฉย ๆ

 

ประโยคความรวม

 

ประโยคความรวม  หมายถึงประโยคที่เอาประโยคความเดียวมารวมกันจนเกิดเป็นประโยคความรวมโดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อมประโยค

สังเกตประโยคความรวมผ่านความหมาย

ประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ และ กับ ทั้ง…แล ถ้า..จึง พอ…ก็ เมื่อ…ก็ แล้ว…จึง แล้ว…ก็

ประโยคที่มีเนื้อหาขัดแย้งกัน – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ แต่ แต่ทว่า ถึง..ก็ ทั้งที่…ก็ กว่า…ก็ แม้ว่า…ก็ แม้…ก็

ประโยคที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น…ก็ ไม่…ก็ หรือไม่อย่างนั้น…ก็

ประโยคที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ เพราะ…จึง เพราะฉะนั้น เพราะฉะนั้น…จึง เพราะว่า ดังนั้น…จึง

 

 

ประโยคความซ้อน

 

ประโยคความซ้อน คือประโยคที่มีข้อความหลายประโยคซ้อนกันอยู่ในประโยคเดียวกัน ประโยคหลักเรียกว่า มุขยประโยค และมีประโยคย่อย เรียกว่า อนุประโยค โดยประย่อยนี้จะต้องอาศัยประโยคหลักเพื่อให้มีใจความสมบูรณ์

 

 

ข้อแตกต่างของประโยคในภาษาไทย

 

การสังเกตประโยคอย่างง่าย คือต้องมองข้อแตกต่างให้ออก เมื่อรู้แล้วว่าแต่ละประโยคแตกต่างกันอย่างไรก็จะทำให้แยกประโยคออกและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น มาดูข้อแตกต่างของประโยคต่าง ๆ กันค่ะว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. ประโยคความเดียวมี 1 ประธาน แต่ประโยคความรวมมี 2 ประธาน

2. ประโยคความเดียวมี 1 กริยาหลัก แต่ประโยคความรวมมีกริยามากกว่า 2

3. ประโยคซ้อนและประโยคความรวมมีสองประโยครวมอยู่ในประโยคเดียวเหมือนกัน แต่ประโยคความซ้อนจะมีประโยคหนึ่งไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องมีประโยคหลักมาช่วยประโยคย่อย ประโยคจึงจะมีใจความสำคัญ ในขณะที่ประโยความรวมมาจากประโยคความเดียวนำมารวมกัน ทำให้แต่ละประโยคที่ถูกรวมมีความหมายและใจความสำคัญในตัวเอง

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องการสังเกต ประโยคในภาษาไทย ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ น้อง ๆ คนไหนที่ยังสับสน ถ้าหมั่นทบทวนและทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ รับรองว่าเรื่องประโยคจะกลายเป็นเรื่องหมู ๆ ที่ไม่ทำให้น้อง ๆ ต้องกลัวเวลาเจอในข้อสอบกันอีกต่อไปแล้วค่ะ และเพื่อให้ได้ความรู้ควบคู่ความสนุกเพลิดเพลินไปด้วย อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนบทเรียนนะคะ รับรองว่าจะต้องทำให้น้อง ๆ ทุกคนเข้าใจขึ้นอย่างมากเลยค่ะ

 

ประโยคความซ้อน

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1