คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย

 

 

คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ โดยญี่ปุ่นเริ่มติดต่อสัมพันธ์กับประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินในสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) ส่วนประเทศจีนนั้นมีการติดต่อกับประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนจำนวนมากก็อพยพมาอยู่ที่ไทย ทำให้ทุกวันนี้มีคนไทยเชื้อสายจีนกันอยู่มาก เมื่อวัฒนธรรมถูกผสมปนเป ก็ทำให้ภาษาถูกหยิบยืมมาใช้เพื่อเรียกแทนคำที่อาจจะไม่ได้มีความหมายแปลที่ชัดเจนโดยการทับศัพท์คำนั้น ๆ ไป

 

ลักษณะภาษาญี่ปุ่น

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

  1. ในภาษาญี่ปุ่น จะเรียงประโยคแบบ ประธาน + กรรม + กริยา เช่น 私はご飯を食べます ซึ่ง 私 หมายถึง ฉัน เป็นประธานของประโยค ご飯 หมายถึง ข้าว ส่วน 食べます หมายถึง กิน ประโยคนี้จึงแปลว่า ฉันกินข้าว ซึ่งจะแตกต่างกับภาษาไทยที่เรียงประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม
  1. ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรทั้งหมด 46 ตัว เสียงสระ 5 เสียง เสียงพิเศษ 1 เสียงใช้เป็นตัวสะกด และไม่มีวรรณยุกต์ในภาษา
  2. คำยืมจากภาษาญี่ปุ่นจะเป็นคำทับศัพท์ คำไทยที่ยืมมาจากญี่ปุ่นจะเรียกทับศัพท์ไปเลย เช่น เทมปุระ ซูชิ ราเมน โมจิ นินจา คาราโอเกะ

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

นอกจากคำศัพท์ทั่วไปแล้ว เพราะอิทธิพลของประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาในไทย ทำให้มีสินค้าหลายประเภทที่เป็นภาษาญี่ปุ่นถูกเรียกปะปนอยู่ในสังคมไทยอีกมาก อย่างยี่ห้อขนมหรือยี่ห้อรถ

 

ลักษณะภาษาจีน

 

 

  1. คำภาษาจีนมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี จัตวา เช่น ก๋วยเตี๋ยว เกี้ยมอี๋
  2. คำภาษาจีนมักมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ก๋ง เจ๊ อั้งโล่ บ๊วย
  3. คำในภาษาจีนมีเสียงวรรณยุกต์ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 4 เสียง และมีเสียงเบา เป็นเสียงที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์

วัฒนธรรมของจีนกับไทย เรียกได้ว่าแทบจะแยกกันไม่ออก คำบางคำก็ถูกใช้ต่อ ๆ กันมาจนชิน ทำให้บางทีคนไทยหลายคนก็ไม่รู้ว่าเป็นคำที่มาจากภาษาจีน จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

 

 

สรุปความรู้ คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

เมื่อดูจากลักษณะของภาษาแล้ว จะเห็นได้ว่าภาษาญี่ปุ่นกับจีนมีความเหมือนและแตกต่างกับภาษาไทย โดยทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนต่างก็มีเสียงสระเหมือนภาษาไทย แต่จะต่างกันตรงเสียงวรรณยุกต์และประโยคที่ภาษาจีนจะมีความเหมือนภาษาไทยมากกว่า ทั้งการออกเสียงวรรณยุกต์ผิดจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยน หรือ การเรียงประโยค ประธาน + กริยา + กรรม เพราะความคล้ายกันของลักษณะภาษานี่เองจึงทำให้ทั้งสองภาษาเข้ามาปะปนและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนมากเป็นคำง่าย ๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ความหมายตรงตัว ไม่ต้องแปลอีกรอบ เมื่อพูดแล้วคนไทยจะเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงเรื่องใด

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ เมื่อได้เรียนรู้คำที่ยืมจากภาษาญี่ปุ่นและจีนกันไปแล้ว ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาและลักษณะภาษาของภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วย วิธีสังเกตก็ง่ายแสนง่าย อย่าลืมลองสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วลองคิดเล่น ๆ ดูนะคะ ว่าสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น คำไหนมาจากภาษาจีนกันบ้าง สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้นนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ รับรองว่าน้อง ๆ จะได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินอย่างแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการวิเคราห์โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม ซึ่งโจทย์ที่นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเขียนประโยคสัญลักษณ์ รวมไปถึงการสดงวิธีทำ หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1