คติธรรมในสำนวนไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง

 

สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม

 

สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย อาจใส่สัมผัสหรือเล่นคำให้สละสลวย

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ตัวอย่าง คติธรรมในสำนวนไทย

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ที่มา :

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า มาจากน้ำในแม่น้ำลำคลอง เมื่อมีเรือขึ้นล่องดิน ที่ท้องน้ำจะไม่ตกตะกอน ทำให้ไม่ตื้นเขิน เช่นเดียวกันกับเสือที่อยู่ในป่าได้ก็เพราะป่าเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร

คติธรรม :

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เป็นสำนวนที่สอดแทรกคติธรรมเกี่ยวกับการมีมิตรไมตรีและน้ำใจที่ดีต่อกัน จึงยกลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ที่มา :

สำนวนปิดทองหลังพระเป็นการเปรียบเปรยถึงการปิดทองที่ด้านหลังของพระพุทธรูป ที่คนส่วนใหญ่มักมองเพียงด้านหน้าขององค์พระ

คติธรรม :

การปิดทองหลังพระเป็นสำนวนที่สอดแทรกเรื่องของทำความดีหรือการให้โดยไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน เหมือนกับการปิดทองหลังพระ ที่ไม่ว่าจะติดด้านไหนก็เท่ากับเป็นการทำบุญเหมือนกันโดยไม่ต้องป่าวประกาศ ทำให้คนเห็นว่าการทำความดีนั้น ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่แต่ก็ยังถือว่าเป็นการทำความดีเหมือนกัน

 

 

ที่มา :

สำนวนอย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน เป็นสำนวนที่มีความหมายตัวตรงจากการนำทางที่เราอาจไม่ได้รู้จักดีมาเปรียบเทียบกับคนว่าเราไม่ควรจะไว้ใจใครหรืออะไรง่าย ๆ

คติธรรม :

ความไม่ประมาท คือคติธรรมที่สำนวนอย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนได้สอดแทรกไว้

 

สำนวนไทยเป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่มีคุณค่า มุ่งเน้นสอนให้รู้จักน้อมนำธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบตัวมาขัดเกลาพฤติกรรมของคนในสังคมได้อย่างดีเยี่ยม หวังว่าบทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้คติธรรมสอนใจเพิ่มขึ้นนะคะ และอย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนและฟังคำอธิบายเกี่ยวกับสำนวน รับรองว่าได้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้เลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย     ประวัติความเป็นมา สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1