การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

1. การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ

การเปลี่ยนทางเสียงของคำ เป็นไปอย่างธรรมชาติ เกิดจากความไม่ตั้งใจและออกเสียงไม่สะดวกของภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันอยู่ทุกวัน โดยสามารถแบ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงได้ดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ

  1. การกลมกลืนเสียง คือ การที่เสียงเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมหรือไปตามเสียงข้างเคียง หลังจากการเปลี่ยนแปลงเสียงที่เปลี่ยนไปจะมีความคล้ายคลึงกับเสียงข้างเคียง เช่น สันสกฤต ในอดีตเป็นคำว่า สังสกฤต แต่ถูกหลืนเสียงไปกับตัว ส ทำให้ตัวสะกดแม่กง เปลี่ยนไปเป็นแม่กน
  2. การผลักเสียง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเสียงที่ตรงข้ามกับการกลมกลืนเสียง เสียงที่เปลี่ยนไปจะเหมือนกับเสียงข้างเคียงน้อยลงหรือกลายเป็นเสียงที่ต่างออกไปจากเสียงใกล้เคียง เช่น ส่ำสม เป็นตัวสะกดแม่กมเหมือนกันแต่ในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ว่า สั่งสม แทน
  3. การสับเสียง เป็นกระบวนการที่เสียง 2 เสียงเกิดเรียงกันหรือใกล้ชิดกันเกิดเปลี่ยนที่กันขึ้น เช่น ตะกรุด กลายเป็นกระตุดในภาษาไทยอีสานบางถิ่น เป็นต้น
  4. การลดเสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงที่หายไป แต่ความหมายนั้นยังคงเดิม เช่น แมลง เสียง ม,ล จะสูญไปในภาษาไทยบางถิ่นกลายเป็น แลง,แมง
  5. การเพิ่มเสียง เป็นการเพิ่มเสียงจากคำที่ออกเสียงไม่สะดวกให้สามารถพูดได้ง่ายมากขึ้น เสียงที่เพิ่มมาอาจเป็นเสียงพยัญชนะหรือเสียงสระ และอาจปรากฏในตำแหน่งต้นคำ กลางคำ หรือท้ายคำก็ได้

 

2. การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

 

 

– ความหมายแคบเข้า หมายถึง คำที่แต่เดิมมีความหมายหลายความหมาย ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายน้อยลงแต่ยังคงมีความหมายเดิมอยู่บ้าง หรือแต่เดิมเคยมีความหมายรวมต่อมาเปลี่ยนเป็นความหมายเฉพาะเจาะจงมากขึ้น หรือเคยมีความหมายกลาง ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายในทางดีหรือแย่

ตัวอย่าง

ร่ำเรียน ในอดีตมี 2 ความหมาย คือหมายถึง ร้องเรียน และเรียนหนังสือ แต่ปัจจุบันมีความหมายว่า เรียนหนังสือ เพียงความหมายเดียว

 

– ความหมายกว้างออก หมายถึง คำนั้นแต่เดิมมีความหมายเดียวหรือมีความหมายน้อย แต่ต่อมามีความหมายเพิ่มขึ้น หรือแต่เดิมมีความหมายเฉพาะเจาะจง แต่ต่อมาขยายความหมายออกเป็นความหมายรวม

ตัวอย่าง

แม่ แต่เดิมหมายถึง ผู้ให้กำเนิด เช่น แม่วัว แม่ไก่ แม่หมู แต่ภายหลังมีความหมายถึง หัวหน้า ผู้เป็นใหญ่ด้วย เช่น แม่ทัพ แม่งาน เป็นต้น

 

– ความหมายย้ายที่ หมายถึง คำเดิมมีความหมายอย่างหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายที่ต่างออกไปโดยไม่มีการใช้ในความหมายเดิมอีก

ตัวอย่าง นอกใจ ความหมายเดิมหมายถึง อกตัญญู ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอน เนรคุณ แต่ในปัจจุบันหมายถึงไม่ซื่อตรงต่อสามีหรือภรรยาด้วยการคบชู้

 

3. การเลิกใช้คำเดิม และเปลี่ยนคำใหม่

นอกจากการเปลี่ยนทางเสียงและความหมายแล้ว ยังมีอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อคำใดคำหนึ่งนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป เรียกว่า ศัพท์สูญ หรือ สูญศัพท์ แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการเลิกใช้คำเดิมไปแล้วก็เป็นธรรมดาที่มีคำศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้แทนที่ เรียกว่า การเปลี่ยนคำใหม่ หรือ การเพิ่มศัพท์

การสูญศัพท์ หรือศัพท์สูญ

เป็นคำโบราณที่ไม่นิยมใช้กันในปัจจุบันหรือเลิกใช้ไปแล้ว ซึ่งบางคำอาจจะยังมีความหมายอยู่พจนานุกรมแต่บางคำก็ไม่มีในพจนานุกรมแล้ว เช่น เข้า ปัจจุบันใช้ ขวบ, ปี แต่งแง่ ปัจจุบันใช้ แต่งตัว นอกจากนี้ยังมีบางคำศัพท์ที่หายไปบางส่วน เช่นคำว่า เคียด แปลว่าโกรธ ปัจจุบันมักใช้คู่กับ เคียดแค้น ขึ้งเคียด มีความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อย คือได้ลดการหนักแน่นลงมาจากความหมายเก่า

 

เมื่อสังคมมีความเจริญและพัฒนาขึ้น คำศัพท์ที่ใช้จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมทำให้คำบางคำมีความเปลี่ยนแปลงหรือถูกเลิกใช้ไป การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เห็นวิวัฒนาการทางภาษาของภาษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ สุดท้ายนี้ น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนและสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นได้นะคะ เพราะในคลิปครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของคำไว้ให้เข้าใจอย่างง่าย มีตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน รับรองว่าน้อง ๆ เรียนแล้วจะต้องเข้าใจเรื่องนี้และทำข้อสอบได้ผ่านฉลุยแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

ปก short answer questions

Short question and Short answer

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง “Short question and Short answer“ การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   ความหมาย Short question and Sho rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1