การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความหมายของการพูดอภิปราย

 

การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
การอภิปรายจึงเป็นการจัดเพื่อให้ส่วนรวมได้แสดงออกอย่างมีเหตุผลและหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจร่วมกัน

 

การพูดอภิปราย

 

ความสำคัญของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

องค์ประกอบของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

ประเภทของการอภิปราย

 

 

  1. การอภิปรายกลุ่ม

การอภิปรายกลุ่มจะมีผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 4-20 คน ผู้เข้าร่วมอภิปรายมีส่วนร่วมในการพูดแสดงความคิดเห็น ปรึกษาหารือและหาข้อสรุปร่วมกัน การอภิปรายกลุ่มจะไม่มีบุคคลภายนอกมาร่วมด้วย เพราะโดยส่วนมากการอภิปรายกลุ่มมักจะเป็นการประชุมอภิปรายกันเฉพาะแค่ในกลุ่มของหน่วยงานเท่านั้น

  1. การอภิปรายในที่ประชุมชน

ประชุมชน หมายถึง สาธารณชน ดังนั้นการอภิปรายในที่ประชุมชน หมายถึง การพูดอภิปรายต่อหน้าสาธารณชนโดยมีกลุ่มผู้อภิปรายและกลุ่มผู้ฟังอยู่ในที่ประชุมชนนั้นด้วย โดยทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน และกลุ่มผู้ฟังสามารถซักถามผู้อิปรายในช่วงท้ายของการอภิปรายได้ ซึ่งการอภิปรายในที่ประชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

2.1 การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะผู้อภิปรายประมาณ 3-5 คน แยกจากกลุ่มผู้ฟัง อาจจะนั่งบนเวทีและหันหน้าไปทางผู้ฟัง และมีผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่ดำเนินตลอดการอภิปราย โดยในการอภิปรายเป็นคณะนี้ จะต้องกำหนดหัวข้อให้ชัดเจน ผู้อภิปรายจะต้องแสดงความคิดเห็นในหัวข้อของตนทีละคนภายในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้น ผู้อภิปรายจะต้องศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า เรื่องราวและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนจะพูดอภิปรายเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในที่ประชุมชน

2.2 การอภิปรายแบบซิมโพเซียม (Symposium)

เป็นการอภิปรายของกลุ่มผู้อภิปรายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องอภิปรายกันเป็นคณะประมาณ 3-5 คน โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ประสานการอภิปรายเช่นเดียวกับการอภิปรายเป็นคณะ การอภิปรายแบบซิมโพเซียม มีความแตกต่างจากการอภิปรายเป็นคณะในส่วนที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะอภิปราย ซึ่งผู้อภิปรายแต่ละคนจ้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่จะอภิปรายอย่างลึกซึ้ง

2.3 การอภิปรายซักถาม (Colloquy)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะบุคคลสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะอภิปราย ทำหน้าที่เป็นผู้อภิปราย มีกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้ซักถาม โดยตลอดการดำเนินการอภิปรายจะมีผู้ประสานให้การถามและการตอบเป็นไปอย่างราบรื่น

 

หน้าที่ของผู้อภิปราย

 

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ สำหรับบทเรียนเรื่องนี้ การพูดอภิปรายเป็นพูดเพื่อแสดงความรู้ ถึงแม้จะต้องเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูลมาพูด แต่ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยนะคะ ถ้าน้อง ๆ ได้ลองฝึกพูดบ่อย ๆ รับรองว่าจะต้องพูดได้คล่อง และได้แลกเปลี่ยนความเห็น เพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเองมากขึ้นอีกแน่นอนค่ะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเติมนะคะ จะได้เข้าใจถึงความหมายและประเภทของการพูดอภิปรายมากขึ้นอีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Verb to be     กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are,

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

พระอภัยมณี ความเป็นมาและเรื่องย่อของวรรณคดีที่ดีที่สุดตลอดกาล

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่เรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เป็นต้นแบบในการเขียนกลอนและยังถูกไปนำดัดแปลงเป็นละคร ภาพยนตร์ และเพลงอีกมากมาย แต่ทราบไหมคะว่าเรื่องพระอภัยมณีนั้นแท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พระอภัยมณี ความเป็นมา     พระอภัยมณีเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งขึ้นขณะติดคุกเพราะเมาสุราในสมัยรัชกาลที่ 2 ราว ๆ ปี พ.ศ.

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1