กลอนบทละครอ่านอย่างไรให้ถูกต้อง และไพเราะ

กลอนบทละคร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ภาษาไทยอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังรอคอย  บทเรียนเกี่ยวกับการอ่านบทอาขยานต้องมาทางนี้เลย เพราะว่าเราจะมาเรียนรู้หลักการอ่านอาขยานในประเภทบทละคร ซึ่งแน่นอนว่านอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้วิธีการอ่านที่ถูกต้องแล้ว ก็ยังจะได้สนุกไปกับเนื้อเรื่องของบทละครที่เราจะยกมาเป็นตัวอย่างในเนื้อหาวันนี้ด้วย ถ้าหากทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้า เตรียมตัวไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย

 

กลอนบทละคร

 

บทอาขยาน คืออะไร

อาขยาน [อา – ขะ – หยาน] คือ บทประพันธ์ชนิดหนึ่งที่จะต้องอาศัยการท่องจำ และอ่านด้วยทำนองแบบบทร้อยกรอง หรืออ่านตามโครงสร้างของฉันทลักษณ์นั้น ๆ บทอาขยานอาจหมายรวมถึงการเล่านิทาน การเล่าเรื่อง การเล่าเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อม เล่าถึงตัวบุคคลแบบที่ในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ในการเล่าเรื่อง โดยจะมีฉันลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความงดงามทางภาษา เนื้อหา และวรรณศิลป์ด้วย

 

กลอนบทละคร

 

ความหมายของกลอนบทละคร

กลอนบทละคร หมายถึง กลอนที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ในการแสดงละครรำ ซึ่งในกลอนบทละครนี้จะมีหลักเกณฑ์ หรือฉันทลักษณ์ในการแต่งที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่าย เพราะใช้การแต่งแบบกลอนสุภาพที่แต่ละวรรคจะมี 6 – 8 คำ แต่สิ่งที่สำคัญในกลอนบทละครที่ลักษณะของคำขึ้นต้นที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าในบทนี้ตัวเนื้อเรื่องกำลังกล่าวถึงตัวละครใด
เช่น มาจะกล่าวบทไป เมื่อนั้น บัดนั้น หรือน้องเอ๋ยน้องรัก ซึ่งก็จะมีหลักการให้เราได้เรียนรู้กันในส่วนต่อไป 


กลอนบทละคร

 

หลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละคร

อย่างที่ได้บอกกับน้อง ๆ ไปก่อนหน้านี้ว่าการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครจะมีจุดสำคัญ ๆ ให้สังเกตอยู่ซึ่งนั่นก็คือการใช้คำขึ้นต้น และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเราจะยกตัวอย่างกลอนบทละครจากวรรณคดีเรื่อง ต่าง ๆ ที่มีคำขึ้นต้นเหล่านี้มาประกอบด้วย 

  • มาจะกล่าวบทไป ใช้ในตอนที่จะเริ่มต้นเรื่อง หรือเริ่มต้นเล่าเรื่องในตอนใหม่ 

กลอนบทละคร

 

  • เมื่อนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะเล่าถึงตัวละครหลัก หรือตัวละครสำคัญ ๆ ในเรื่องนั้น เช่น กษัตริย์ พระเอก หรือนางเอก 

กลอนบทละคร

 

  • บัดนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะกล่าวถึงตัวละครที่ไม่มีบทบาทสำคัญอะไรมาก เป็นตัวประกอบ หรือตัวละครรองในเรื่องนั้น

กลอนบทละคร
** เป็นการกล่าวถึงตัวละครที่มีบทรองจากตัวละครสำคัญ ๆ ไม่ได้มีบทบาทมากอย่าง พญาพิเภกซึ่งเป็นยักษ์ที่พระอิศวรส่งมาให้ช่วยพระราม หรือเป็นบริวาลของพระราม หลังจากรับคำสั่งแล้วก็ได้กราบลาไปทำหน้าที่

 

  • น้องเอ๋ยน้องรัก อาจจะเห็นในบางบทกลอนที่พระเอกต้องการจะกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก
    หรือในบทเกี้ยวพาราสี
กลอนบทละคร
** เป็นบทเกี้ยวพาราสีของอิเหนาที่จะกล่าวชมรูปโฉมของนางจินตะหราวาตีว่า หน้าตาสวยผุดผ่องราวกับพระจันทร์
รูปร่างงดงาม มองตรงไหนก็ดูดีไปหมด

วิธีแบ่งวรรคอ่าน

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฝึกอ่านให้ถูกต้อง แม่นยำ เราก็จะมาสอนวิธีการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครด้วยการแบ่งคำให้ถูกต้องตามจังหวะ ซึ่งเราสามารถดูจากจำนวนของคำที่ใช้ในละวรรค มีประมาณ     6 – 8 คำ หรือสูงสุด 9 คำ โดยเราจะยกตัวบทจากเรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์มาประกอบ เพื่อให้   น้อง ๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

กลอนบทละคร

กลอนบทละคร

 

** ให้น้อง ๆ สังเกตจากจำนวนคำ

ถ้าหากมี 6 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2 – 2 – 2 

ถ้าหากมี 7 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น  2 – 2 – 3

ถ้าหากมี 8 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 2 – 3

ถ้าหากมี 9 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 3 – 3

 

บทส่งท้าย

หลังจากที่ได้เรียนหลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครไปแล้วช่วยให้น้อง ๆ สามารถอ่านเป็นทำนองเสนาะได้เพราะขึ้นหรือเปล่า เนื้อหาการเรียนวันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากมาก และอยากให้น้อง ๆ นำไปฝึกอ่านบ่อย ๆ เพราะเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นเราก็จะได้ฝึกอ่านกลอนบทละครแบบนี้อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องสังข์ทองในตอนอื่น ๆ เรื่องพระอภัยมณี อิเหนา หรือรามเกียรติ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่สนุก ๆ ทั้งนั้น ส่วนใครที่อยากลองฟังวิธีการอ่านที่ถูกต้องอีกรอบก็ลองไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปวีดีโอด้านล่างนี้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Verb to be     กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are,

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

conjunctions

เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ เช่น 2 เป็นรากที่

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1