โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

โคลงโสฬสไตรยางค์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

ความหมายของโสฬสไตรยางค์

 

โสฬส แปลว่า 16 ไตรยางค์ แปลว่า องค์ 3 โคลงโสฬสไตรยางค์จึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 16 หมวด หมวดละ 3 ข้อ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

โคลงสี่สุภาพ

 

เนื้อหาของโคลงโสฬสไตรยางค์ 16 หมวด

 

1. สามสิ่งควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่

2. สามสิ่งควรชม คือ อำนาจปัญญา เกียรติยศ มารยาทดี

3. สามสิ่งควรเกลียด คือ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ ความอกตัญญู

4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน คือ ชั่วเลวทราม มารยา ริษยา

5. สามสิ่งควรเคารพ คือ ศาสนา ยุติธรรม ความประพฤติเป็นประโยชน์ทั่วไป

6. สามสิ่งควรยินดี คือ งาม ความซื่อตรง ไทยแก่ตน

7. สามสิ่งควรปรารถนา คือ ความสุขสบาย มิตรสหายที่ดี จิตใจที่ผ่องใส

8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ คือ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริสุทธิ์

9. สามสิ่งควรนับถือ คือ ปัญญา ฉลาด มั่นคง

10. สามสิ่งควรชอบ คือ ความเอื้ออารี ความสนุกสนาน ความเบิกบาน

11. สามสิ่งควรสงสัย คือ คำกล่าวยอ ความหน้าเนื้อใจเสือ ความกลับกลอก

12. สามสิ่งควรละ คือ ความเกียจคร้าน การพูดเพ้อเจ้อ วาจาหยาบคาย

13. สามสิ่งควรกระทำให้มี คือ หนังสือดี เพื่อนดี ใจดี

14. สามสิ่งควรหวงแหน คือ ชื่อเสียงยศศักดิ์ บ้านเมืองของตน มิตรสหาย

15. สามสิ่งควรระวัง คือ อาการที่เกิดจากใจพาไป ความมักง่าย วาจา

16. สามสิ่งควรเตรียมเผื่อ คือ อนิจจัง ชรา มรณะ

 

โคลงบทเด่น ในโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

      ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย    ทั้งหทัย แท้แฮ

สุวภาพพจน์ภายใน               จิตพร้อม

ความรักประจักษ์ใจ               จริงแน่ นอนฤา

สามสิ่งควรรักน้อม                 จิตให้สนิทจริง

 

ถอดคำประพันธ์ โคลงบทนี้นำสามสิ่งที่ควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ ให้กล้าที่จะพูดออกมาจากใจ สุภาพอ่อนน้อม และแสดงความรักใคร่ ซึ่งเป็นสามสิ่งที่ควรมีให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ

 

คุณค่าและข้อคิดที่ได้จากโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิตที่สอนให้มนุษย์รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ความสุภาพ การมีมารยาทที่ดี การมีจิตใจโอบอ้อมอารี และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งหมดไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้โครงโสฬสไตรยางค์ ยังเป็นเป็นบทประพันธ์ที่เป็นด้วยคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ทั้งการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในโคลงแต่ละบท รวมไปถึงการใช้ถ้อยคำที่แสนจะตรงไปตรงมา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย แต่ก็ไม่ละทิ้งความสวยงามทางภาษา

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้เรื่องโคลงสุภาษิต เรื่อง โคลงโสฬสไตรยางค์กันไปแล้ว น้อง ๆ คงจะรู้ได้ทันทีเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้มีคุณค่าแก่ประชาชนคนไทย เพราะนอกจากจะประพันธ์โดยในหลวง รัชกาลที่ 5 แล้วนั้น โคลงบทนี้ยังเปี่ยมไปด้วยข้อคิดเตือนใจอีกมากมาย ที่ถ้าน้อง ๆ ได้อ่านและศึกษาแล้ว รับรองว่าได้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ก่อนลากัน น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนกันด้วยนะคะ ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่า

 

โคลงสุภาษิต

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

การใช้ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต

สวัสดีนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวเราในภาษาอังกฤษกันค่ะ ได้แก่ ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลย   อาชีพ (Occupation)     ตารางคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาชีพ คำศัพท์ แปล engineer วิศวกร actor นักแสดง YouTuber นักยูทูบเบอร์ Gamer

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่บทเรียนคราวที่แล้วเราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องสุนทรภู่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึง คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี ว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้รู้เหตุผลว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่โด่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นวรรณคดีที่ดังข้ามเวลาและอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี     คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์   พระอภัยมณีเป็นเรื่องมีรสทางวรรณคดีคือเสาวรจนีย์และสัลปังคพิสัย ดังนี้ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉมหรือความงาม พบในตอนที่พระอภัยชมความงามของนางเงือก     2.

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1