โคลงอิศปปกรณำ วรรณคดีร้อยแก้วที่แปลมาจากนิทานตะวันตก

โคลงอิศปปกรณำ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในบทเรียนก่อนหน้า น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์กับโคลงนฤทุมนาการกันไปแล้ว แต่โคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะได้เรียนไม่ได้หมดแค่นั้นนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งโคลงสุภาษิตที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ โคลงอิศปปกรณำ นั่นเองค่ะ โคลงสุภาษิตที่ชื่อดูอ่านยากเรื่องนี้จะมีที่มาอย่างไร สอนเรื่องอะไรเราบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร ให้ข้อคิดแบบไหน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายของ โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ อ่านว่า โคลง-อิด-สะ-ปะ-ปะ-กะ-ระ-นำ มาจากคำศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้

โคลง หมายถึง โคลงสี่สุภาพ

อิศป หมายถึง อีสป

ปกรณำ หมายถึง หนังสือ, เรื่อง

เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่มีเรื่องราวเหมือนนิทานอีสป

 

ความเป็นมาและความสำคัญของโคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

โคลงอิศปปกรณำเป็นบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นโคลงสุภาษิตเช่นเดียวกับโคลงโสฬสไตรยางค์และโคลงนฤทุมนการ แต่จะแตกต่างจากทั้งสองโคลงก่อนหน้าคือเป็นบทประพันธ์ที่ถูกแปลมาจากนิทานตะวันตก เป็นนิทานที่แต่งโดย อีสป นักเล่านิทานชาวกรีกที่มีร่างกายพิการแต่มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด มักจะแต่งนิทานขึ้นเพื่อเป็นข้อคิดหรือคติเตือนใจ นิทานอีสปจึงเป็นนิทานที่ไม่เด่นชัดว่าเป็นของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง สามารถอ่านได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนประเทศไหนเพราะมีคติสอนใจในการดำเนินชีวิตเป็นหลักสำคัญ รัชกาลที่ 5 จึงทรงแปลนิทานอีสป และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานรวมกับกวีอีกสามคนคือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ออกมาเป็นโคลงอิศปปกรณำในปีพ.ศ. 2447

 

โคลงอิศปปกรณำ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เพื่อเป็นคติสอนใจแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง

 

ลักษณะคำประพันธ์

เป็นบทร้อยแก้ว สรุปด้วยโคลงสี่สุภาพเป็นสุภาษิต

 

 

นิทานในโคลงอิศปปกรณำ

 

นิทานในโคลงอิศปปกรณำมีด้วยกันมากมายหลายเรื่อง วันนี้เราจะมาศึกษาหนึ่งในนิทานที่ได้รับการแปล และเป็นที่รู้จักมากที่สุดอย่างเรื่อง ราชสีห์กับหนูกันค่ะ

 

 

เนื้อเรื่อง

ขณะที่สิงโตกำลังนอนหลับอยู่ในป่า จู่ ๆ ก็มีหนูตัวหนึ่งวิ่งขึ้นไปบนหน้ารบกวนการนอน ราชสีห์ก็ตกใจตื่นด้วยความโมโห จับตัวหนูไว้หมายจะฆ่าให้ตาย หนูตัวนั้นจึงรีบอ้อนวอนต่อราชสีห์ให้ไว้ชีวิต และสัญญาว่าหากราชสีห์ยอมปล่อยไป จะตอบแทนบุญคุณอย่างแน่นอน เมื่อราชสีห์ได้ยินดังนั้นก็นึกขำเพราะไม่คิดว่าหนูตัวเล็กเช่นนี้จะทดแทนบุญคุณอะไรได้ แต่ก็ยอมปล่อยไปเพราะเห็นว่าหนูตัวนี้ทำให้อารมณ์ดีได้ กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ราชสีห์กำลังหาอาหารอยู่ในป่าก็ดันพลาดท่าไปติดกับดักของนายพรานเข้า ราชสีห์รู้สึกสิ้นหวัง เพราะไม่ว่าจะดิ้นอย่างไรก็ไม่สามารถหลุดออกไปได้ แต่เสียงของราชสีห์กลับลอยไปเข้าหูเจ้าหนูที่เคยไว้ชีวิตในครั้งนั้น มันจึงออกมาตามหาจนเจอ และกัดบ่วงกับดักทีละเส้นจนราชสีห์ออกมาได้ ราชสีห์รู้สึกผิดที่เคยสบประมาทความตัวเล็กของหนู แต่หนูกลับไม่ได้ถือโทษเพราะต้องการตอบแทนบุญคุณของราชสีห์ เมื่อเข้าใจกันแล้ว ราชสีห์กับหนูก็กลายเป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือกันอยู่ในป่าร่วมกับสัตว์ตัวอื่นเรื่อยไป

 

โคลงสุภาษิตประกอบนิทาน

อย่าควรประมาทผู้           ทุรพล

สบเคราะห์คราวขัดสน     สุดรู้

เกลือกเขาสบร้ายดล       ใดเหตุ มีแฉ

มากพวกคงมีผู้                ระลึกเค้าคุณสนอง

ความหมาย อย่าดูถูกผู้มีกำลังน้อย เผื่อว่าเราเจอเหตุร้าย เราอาจต้องขอความช่วยเหลือจากคนตัวเล็กเหล่านั้น ดังนั้นจึงควรคบคนไว้เยอะ ๆ เพราะการมีพวกมาก ก็จะทำให้มีคนคอยช่วยเหลือและตอบแทนเราในตอนที่ลำบากได้

 

คำศัพท์น่ารู้

ทุรพล หมายถึง ผู้มีกำลังน้อย

สบ หมายถึง พบ

เกลือก หมายถึง เผื่อ

 

คุณค่าที่ได้จากเรื่อง

 

 

ด้วยความที่บทประพันธ์ถูกแปลมาจากนิทานอีสปซึ่งเป็นนิทานที่มีคติสอนใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เนื้อหาของนิทานแต่ละเรื่องสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด การแก้ปัญหาอันชาญฉลาดผ่านตัวละครในนิทานควบคู่ไปด้วยวรรณศิลป์ การใช้ภาษาอย่างมีชั้นเชิง

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องโคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ต้องเรียนกันทั้ง 3 เรื่อง โคลงอิศปปกรณำที่เป็นเรื่องสุดท้ายนี้ มีที่มาจากนิทาน ทำให้มีทั้งบทร้อยแก้วและโคลงประกอบแต่ละเรื่อง เนื้อหาไม่ยาก คำศัพท์ง่าย อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที แถมนิทานที่แปลมาก็ยังสนุกอีกด้วย เรียกว่าได้ทั้งความรู้และความสนุกเลยนะคะ น้อง ๆ ที่เรียนบทนี้จบแล้ว อย่าลืมนำข้อคิดที่ได้จากนิทานไปใช้ในชีวิตกันด้วยนะคะ สุดท้ายนี้ระหว่างทบทวนบทเรียน อย่าลืมไปรับชมและรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ครูอุ้มได้เล่านิทานเรื่องราชสีห์กับหนูเอาไว้อย่างสนุกสนาน น้อง ๆ ฟังแล้วสามารถจำได้โดยไม่ต้องท่องจำเลยละค่ะ ไปดูกันเลย

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยใน nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

สมบัติการบวกจำนวนจริง

สมบัติการบวกจำนวนจริง สมบัติการบวกจำนวนจริง เป็นสมบัติที่น้องๆต้องรู้ เพราะเป็นรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และน้องๆจะต้องใช้สมบัติพวกนี้ในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สมบัติการบวกของจำนวนจริง มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้   1.) สมบัติปิดการบวก  สมบัติปิดการบวก คือ การที่เรานำจำนวนจริง 2 ตัวมาบวกกัน เราก็ยังได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเหมือนเดิม เช่น 1 + 2 = 3 จะเห็นว่า

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1