เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย

 

ภาษาบาลี สันสกฤต

 

การยืมภาษา เป็นผลมาจากการรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นเข้ามาแล้วปรับใช้ในชาติตนเอง การยืมภาษาของไทยนั้นถึงเป็นเสมือนร่องรอยทางประวัติศาสตร์ชั้นดี การยืมภาษาบาลี สันสกฤตในไทยนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มใช้ในปีไหน หรือใครเป็นคนนำเข้ามา แต่ก็พบว่ามีการหยิบยืมคำจากภาษาดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในศิลาจารึก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ผลที่ทำไมภาษาบาลี สันสกฤตจึงเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบมาปรับใช้มากที่สุดในภาษาไทย

 

หลักการสังเกตภาษาบาลี สันสกฤต

 

 

1. ภาษาบาลีจะใช้สระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แต่ภาษาสันสกฤต จะเพิ่มตัวฤ ฤา ฦา ไอ เอา มาด้วย

2. ภาษาบาลีจะใช้ตัว ส เป็นส่วนใหญ่ เช่น สันติ วิสาสะ ในขณะที่ภาษาสันสกฤตจะเน้นใช้ตัว ศ หรือ ษ เช่น ศิษย์ ศีรษะ

3. ฬ จะอยู่ในคำที่เป็นภาษาบาลี เช่น จุฬา กีฬา แต่ถ้าเป็นภาษาสันสกฤต จะใช้ตัว ฑ เช่น กรีฑา ครุฑ

4. ภาษาบาลีไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ เวลาอ่านก็จะอ่านเรียงตามตัวอักษร เช่น คำว่า ภริยา ก็จะอ่านออกเสียงได้ว่า (พะ-ริ-ยา) ส่วนพวกคำควบกล้ำจะอยู่ในภาษาสันสกฤต เช่น เปรม อ่านออกเสียงว่า เปม โดยจะออกเสียงควบกล้ำ ปร

5. ภาษาบาลีจะใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น วัณณ ธัมม ส่วนภาษาสันสกฤตจะใช้ตัว รร แทน เช่น ธรรม สรรพ วรรณ

6. ภาษาบาลีมีหลักตัวสะกดที่แน่นอนแต่สันสกฤตไม่มี

 

หลักตัวสะกดตัวตามของภาษาบาลี

 

ภาษาบาลี สันสกฤต

 

หลักตัวสะกดตัวตามสำหรับดูว่าคำไหนมาจากภาษาบาลี วิธีดูก็ง่ายแสนง่าย คือดูว่าคำไหนมีตัวที่ต่อกันตามหลักในตารางก็หมายความว่าเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี เช่น พยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกด ตัวที่ตามหลังมาก็ต้องอยู่ในแถว 1 กับ 2 หรือถ้าเป็นพยัญชนะแถวที่ 5 ตัวที่จะตามหลังได้ก็คือพยัญชนะแถวที่ 1-5 ในวรรคเดียวกัน

 

การยืมคำภาษาบาลี สันสกฤต

 

1. คำศัพท์ที่เกี่ยวกับศาสนา

2. ชื่อและนามสกุลคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นภาษาบาลี สันสกฤต

3. ศัพท์ในวรรณคดี

4. คำราชาศัพท์ คำสุภาพ

5. ศัพท์วิชาการ

 

ภาษาไทยที่ยืมคำมาจากบาลี สันสกฤตทั้งคู่ แต่นำมาใช้คนละความหมาย

ตัวอย่าง

ภาษาบาลี กีฬา หมายถึง การแข่งขัน การออกกำลังกาย

ภาษาสันสกฤต กรีฑา หมายถึง การแข่งขันประเภทลู่

 

ภาษาไทยที่ยืมคำมาจากภาษาบาลี สันสกฤตแต่เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนภาษาไทยในวันนี้ เป็นเรื่องของคำจาก ภาษาบาลี สันสกฤต ที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถ้าทบทวนและทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ ก็จะสามารถจำหลักในการสังเกตได้เองค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้เข้าใจมากขึ้น อย่าลืมไปชมคลิปการสอนสนุก ๆ จากครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำคู่ไว้ รับรองว่าได้ความรู้และความสนุกเพลิดเพลินอย่างแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

  นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง   เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ  

สำนวนนี้มีที่มา เรียนรู้ความหมายและที่มาของ สำนวนไทย

สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   สำนวนไทย   สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม   ที่มาของสำนวนไทย   สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ

present progressive

Present Progressive พร้อมโครงสร้าง และวิธีใช้

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Present Progressive ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่สำคัญเช่นกันในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

NokAcademy_ม2การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย ” การใช้ Wh-questions ร่วมกับ Past Simple Tense” กันนะคะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1