เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย

 

ภาษาบาลี สันสกฤต

 

การยืมภาษา เป็นผลมาจากการรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นเข้ามาแล้วปรับใช้ในชาติตนเอง การยืมภาษาของไทยนั้นถึงเป็นเสมือนร่องรอยทางประวัติศาสตร์ชั้นดี การยืมภาษาบาลี สันสกฤตในไทยนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มใช้ในปีไหน หรือใครเป็นคนนำเข้ามา แต่ก็พบว่ามีการหยิบยืมคำจากภาษาดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในศิลาจารึก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ผลที่ทำไมภาษาบาลี สันสกฤตจึงเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบมาปรับใช้มากที่สุดในภาษาไทย

 

หลักการสังเกตภาษาบาลี สันสกฤต

 

 

1. ภาษาบาลีจะใช้สระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แต่ภาษาสันสกฤต จะเพิ่มตัวฤ ฤา ฦา ไอ เอา มาด้วย

2. ภาษาบาลีจะใช้ตัว ส เป็นส่วนใหญ่ เช่น สันติ วิสาสะ ในขณะที่ภาษาสันสกฤตจะเน้นใช้ตัว ศ หรือ ษ เช่น ศิษย์ ศีรษะ

3. ฬ จะอยู่ในคำที่เป็นภาษาบาลี เช่น จุฬา กีฬา แต่ถ้าเป็นภาษาสันสกฤต จะใช้ตัว ฑ เช่น กรีฑา ครุฑ

4. ภาษาบาลีไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ เวลาอ่านก็จะอ่านเรียงตามตัวอักษร เช่น คำว่า ภริยา ก็จะอ่านออกเสียงได้ว่า (พะ-ริ-ยา) ส่วนพวกคำควบกล้ำจะอยู่ในภาษาสันสกฤต เช่น เปรม อ่านออกเสียงว่า เปม โดยจะออกเสียงควบกล้ำ ปร

5. ภาษาบาลีจะใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น วัณณ ธัมม ส่วนภาษาสันสกฤตจะใช้ตัว รร แทน เช่น ธรรม สรรพ วรรณ

6. ภาษาบาลีมีหลักตัวสะกดที่แน่นอนแต่สันสกฤตไม่มี

 

หลักตัวสะกดตัวตามของภาษาบาลี

 

ภาษาบาลี สันสกฤต

 

หลักตัวสะกดตัวตามสำหรับดูว่าคำไหนมาจากภาษาบาลี วิธีดูก็ง่ายแสนง่าย คือดูว่าคำไหนมีตัวที่ต่อกันตามหลักในตารางก็หมายความว่าเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี เช่น พยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกด ตัวที่ตามหลังมาก็ต้องอยู่ในแถว 1 กับ 2 หรือถ้าเป็นพยัญชนะแถวที่ 5 ตัวที่จะตามหลังได้ก็คือพยัญชนะแถวที่ 1-5 ในวรรคเดียวกัน

 

การยืมคำภาษาบาลี สันสกฤต

 

1. คำศัพท์ที่เกี่ยวกับศาสนา

2. ชื่อและนามสกุลคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นภาษาบาลี สันสกฤต

3. ศัพท์ในวรรณคดี

4. คำราชาศัพท์ คำสุภาพ

5. ศัพท์วิชาการ

 

ภาษาไทยที่ยืมคำมาจากบาลี สันสกฤตทั้งคู่ แต่นำมาใช้คนละความหมาย

ตัวอย่าง

ภาษาบาลี กีฬา หมายถึง การแข่งขัน การออกกำลังกาย

ภาษาสันสกฤต กรีฑา หมายถึง การแข่งขันประเภทลู่

 

ภาษาไทยที่ยืมคำมาจากภาษาบาลี สันสกฤตแต่เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนภาษาไทยในวันนี้ เป็นเรื่องของคำจาก ภาษาบาลี สันสกฤต ที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถ้าทบทวนและทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ ก็จะสามารถจำหลักในการสังเกตได้เองค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้เข้าใจมากขึ้น อย่าลืมไปชมคลิปการสอนสนุก ๆ จากครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำคู่ไว้ รับรองว่าได้ความรู้และความสนุกเพลิดเพลินอย่างแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Question Tag

การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ความหมาย Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี ที่นำมาใช้ต่อท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม ดังนั้น

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

Profile of Signal Words

การใช้ Signal Words ในภาษาอังกฤษ

  บทนำ   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วยการใช้ คำลำดับความสำคัญ (Signal Words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1