เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การสร้างคำประสม

 

คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำประสม

 

 

คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่

 

 

ลักษณะคำประสม

 

 

  • คำประสมในภาษาไทย มีลักษณะเหมือนคำสมาส แต่คำสมาสเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
  • การเรียงคำประสม จะเรียงโดยนำคำที่ความหมายหลักไว้ด้านหน้า และนำคำที่มีความหมายรองไว้ด้านหลัง เช่น วังหลวง ปากกา น้ำแข็ง
  • คำประสมเมื่อนำมาประกอบแล้วไม่สามารถแทรกคำอื่นเพิ่มเข้าไปได้เพราะจะทำให้ความหมายเปลี่ยน
  • คำประสมที่ประสมแล้วมีความหมายคล้ายกับคำเดิม เช่น พ่อตา แม่ยาย เสียใจ
  • คำประสมบางคำเมื่อผสมกันแล้วความหมายจะเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น อกหัก ใจหาย
  • คำมูลที่นำมาสร้างคำ สามารถนำมารวมกันได้ทั้ง  คำไทย + คำไทย, คำไทย + คำต่างประเทศ, คำต่างประเทศ + คำต่างประเทศ
  • คำที่นำมาผสมกันได้ทั้ง คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน เช่น นาม + นาม = กล้วยแขก หรือ นาม + กริยา = เรือขุด

การจำแนกคำประสม

 

 

การจำแนกคำประสม ถ้าแบ่งตามหน้าที่จะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. คำประสมประเภทนาม คำเป็นที่เป็นตัวตั้งจะเป็นคำนาม ใช้เป็นชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจำกัด เมื่อพูดไปสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร เช่น รถเร็ว เรือไฟ

2. คำประสมประเภทกริยา ใช้คำกริยาเป็นตัวตั้ง ความหมายมักเป็นไปในเชิงอุปมา เช่น กินใจ วางโต

3. คำประสมประเภทวิเศษณ์ คำที่เป็นตัวตั้ง เป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เมื่อประสมแล้วอาจใช้ในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยได้ เช่น ชั้นต่ำ หลายใจ คอแข็ง

 

 

ข้อแตกต่างของคำมูลและคำประสมสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลยก็คือ เมื่อแยกพยางค์ออกมาแล้ว ถ้าเป็นคำมูล คำที่แยกออกมาแต่ละพยางค์นั้นจะไม่มีความหมาย แต่ถ้าเป็นคำประสมเมื่อแยกออกมาแล้วยังมีความหมายอยู่ในคำนั้น ๆ

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ แต่นอกจากคำประสมแล้ว ในภาษาไทยก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการสร้างคำอื่น ๆ อีก ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้นไว้รอติดตามกันในบทต่อไปนะคะ และสำหรับบทเรียนวันนี้ ถ้าน้อง ๆ ต้องการฟังคำอธิบายเพิ่มเติม เผื่อเตรียมตัวสอบ ก็สามารถไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Verb to be     กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are,

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

like_dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! ถาม-ตอบก่อนเรียน หากมีคนถามว่า What do you like doing? หรือ What do you dislike doing? (คุณชอบหรือไม่ชอบทำอะไร) นักเรียนสามารถแต่งประโยคเพื่อตอบคำถาม

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1