เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การสร้างคำประสม

 

คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำประสม

 

 

คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่

 

 

ลักษณะคำประสม

 

 

  • คำประสมในภาษาไทย มีลักษณะเหมือนคำสมาส แต่คำสมาสเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
  • การเรียงคำประสม จะเรียงโดยนำคำที่ความหมายหลักไว้ด้านหน้า และนำคำที่มีความหมายรองไว้ด้านหลัง เช่น วังหลวง ปากกา น้ำแข็ง
  • คำประสมเมื่อนำมาประกอบแล้วไม่สามารถแทรกคำอื่นเพิ่มเข้าไปได้เพราะจะทำให้ความหมายเปลี่ยน
  • คำประสมที่ประสมแล้วมีความหมายคล้ายกับคำเดิม เช่น พ่อตา แม่ยาย เสียใจ
  • คำประสมบางคำเมื่อผสมกันแล้วความหมายจะเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น อกหัก ใจหาย
  • คำมูลที่นำมาสร้างคำ สามารถนำมารวมกันได้ทั้ง  คำไทย + คำไทย, คำไทย + คำต่างประเทศ, คำต่างประเทศ + คำต่างประเทศ
  • คำที่นำมาผสมกันได้ทั้ง คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน เช่น นาม + นาม = กล้วยแขก หรือ นาม + กริยา = เรือขุด

การจำแนกคำประสม

 

 

การจำแนกคำประสม ถ้าแบ่งตามหน้าที่จะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. คำประสมประเภทนาม คำเป็นที่เป็นตัวตั้งจะเป็นคำนาม ใช้เป็นชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจำกัด เมื่อพูดไปสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร เช่น รถเร็ว เรือไฟ

2. คำประสมประเภทกริยา ใช้คำกริยาเป็นตัวตั้ง ความหมายมักเป็นไปในเชิงอุปมา เช่น กินใจ วางโต

3. คำประสมประเภทวิเศษณ์ คำที่เป็นตัวตั้ง เป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เมื่อประสมแล้วอาจใช้ในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยได้ เช่น ชั้นต่ำ หลายใจ คอแข็ง

 

 

ข้อแตกต่างของคำมูลและคำประสมสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลยก็คือ เมื่อแยกพยางค์ออกมาแล้ว ถ้าเป็นคำมูล คำที่แยกออกมาแต่ละพยางค์นั้นจะไม่มีความหมาย แต่ถ้าเป็นคำประสมเมื่อแยกออกมาแล้วยังมีความหมายอยู่ในคำนั้น ๆ

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ แต่นอกจากคำประสมแล้ว ในภาษาไทยก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการสร้างคำอื่น ๆ อีก ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้นไว้รอติดตามกันในบทต่อไปนะคะ และสำหรับบทเรียนวันนี้ ถ้าน้อง ๆ ต้องการฟังคำอธิบายเพิ่มเติม เผื่อเตรียมตัวสอบ ก็สามารถไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Finite and Non- Finite Verb

Finite and Non- Finite Verb

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนการใช้ “Finite and Non- Finite Verb” ในภาษาอังกฤษกันจร้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า   คำเตือน: การเรียนเรื่องนี้จะทำให้นักเรียนมึนงงได้หากว่าพื้นฐานเรื่อง Part of speech, Subject , Tense, Voice และ Mood ของเราไม่แน่น

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

เรขาคณิตสามมิติ

เรขาคณิตสามมิติ

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้กับรูปเรขาคณิตสามมิติและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1