เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง ๆ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของฉันลักษณ์ พร้อมกับให้ดูตัวอย่างของ
กาพย์ยานี 11 ประกอบไปด้วย เพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์ น้อง ๆ จะได้ลองไปแต่งด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนของวันนี้ได้เลย

กาพย์ยานี 11

กาพย์ยานี 11 คืออะไร?

กาพย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง นิยมใช้แต่งบทสั้น ๆ หรือใช้แต่งคำประพันธ์ร่วมกับกาพย์ และฉันท์ประเภทอื่น ๆ เพื่อความไพเราะ  โดยกาพย์ยานี 11 จะมีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่าย และสามารถเลือกสรรคำมาแต่งได้หลากหลาย เพียงแต่ต้องมีเสียงที่คล้องจองกัน ดังนั้น เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าโครงสร้างฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11 มีรูปร่างหน้าตาประมาณไหน

ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานี 11

 

องค์ประกอบของกาพย์ยานี 11 ใน 1 บท จะมีแบ่งออกเป็นวรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ รวมเป็น 11 คำ ใน 1 บทจะมี 2 บาท บาทละ 2 วรรค รวมเป็น 4 วรรค ส่วนวิธีสัมผัสจะมีเพียงแค่ 2 คู่ และอาจมีการเชื่อมสัมผัสกับบทถัดไปด้วย โดยจะมีลักษณะของการเชื่อมสัมผัส ดังต่อไปนี้

 

กาพย์ยานี 11

 

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต้นจะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป และจะสัมผัสแบบเดียวกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกาพย์ยานีสามารถแต่งให้มีความยาวต่อกันกี่บทก็ได้ไม่จำกัด

ตัวอย่างการแต่งกาพย์ยานี 11

 

ธรรมชาติแมกไม้งาม             มองฟ้าครามในยามเย็น

ต้องตาทุกคราเห็น                 คงไว้เป็นเช่นภาพฝัน

ออกเที่ยวเลี้ยวลัดเลาะ          มองหมู่เกาะอัศจรรย์

ความสุขเปี่ยมอนันต์              เพียงเราได้ออกเดินทาง

จะเห็นว่าในแต่ละวรรคจะมีการสัมผัสกันหลัก ๆ อยู่เพียง 2 คู่ อย่างคำว่า “งาม” ที่ไปสัมผัสกับคำว่า “คราม” คำว่า “เย็น” ในวรรคที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำว่า “เห็น” ในวรรคที่ 3 ส่วนคำว่า “ฝัน” ในวรรคที่ 4 ก็จะไปสัมผัสกับคำว่า “อัศจรรย์” ในวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

บทส่งท้าย

จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 หวังว่าหลังจากเรียนจบบทเรียนวันนี้ไปแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจ และแต่งกาพย์ยานี 11 ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือน้อง ๆ ต้องหมั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยใหม่ ๆ ด้วย จะได้เลือกใช้คำได้หลากหลายขึ้น ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่จุใจอยากจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติม หรือทบทวนอีกก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในสังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เพราะถูกนำไปปรับปรุงเป็นบทละครovdในรัชกาลที่ 2 จนได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย นอกจากนี้หนึ่งในตอนที่สำคัญอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ นี้ก็ยังเป็นอีกตอนที่สำคัญเพราะมักถูกหยิบยกมาทำเป็นนิทานสำหรับเด็ก แถมยังเคยได้รับรางวัลหนังสือดีสำหรับเด็ก และได้ชื่อว่าเป็นหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชนในปี 2561 อีกด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าในตอนนี้เพื่อไขข้อข้องใจว่าทำไมวรรณคดีที่ถูกแต่งขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อนถึงมีคุณค่าและอิทธิพลกับเด็กไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ     ถอดความ กล่าวถึงพระสังข์เมื่อตอนเกิดว่าเป็นเทพลงมาเกิด

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1