เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายและความสำคัญของการเขียนเรียงความ

 

เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้

1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้

2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

3. เรื่องที่เพื่อโน้มน้าวใจ

 

การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบของ การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบเรียงความ

 

1. ส่วนนำ เป็นส่วนหนึ่งของเรียงความที่เป็นการเปิดประเด็นเข้าสู่เนื้อเรื่อง ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนนั้นจะเขียนเรื่องอะไร โดยเนื้อหาที่ใช้ในการเขียนเปิดต้องมีความน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อไป แต่ไม่ควรเปิดเผยเนื้อหาทั้งหมด

 

2. เนื้อหา ส่วนสำคัญที่สุดของเรียงความ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเสนอความรู้ความคิดความเข้าใจทรรศนะหรือความรู้สึกของผู้เขียน

ขั้นตอนการเรียบเรียงเนื้อหา

  • วางแผนลำดับขั้นตอนและโครงเรื่องที่จะเขียนว่ามีแนวทางอย่างไร
  • เขียนเนื้อหาตามโครงเรื่องที่วางไว้
  • แต่ละย่อหน้าต้องมีใจความสำคัญ
  • ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

 

การวางโครงเรื่อง

 

การเขียนเรียงความ ไม่ควรมีแค่ย่อหน้าเดียว นอกจากนี้การใช้ภาษาในการเขียนยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า น้อง ๆ จะต้องพิถีพิถันในการเลือกคำมาเขียนให้ลื่นไหลและต้องเป็นภาษาแบบทางการ ถูกต้องตามหลักการเขียน

3. สรุป ส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนเรียงความ เพราะจะเป็นการนำสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดมาสรุปอีกทีหนึ่ง เนื้อหาที่สรุปออกมานั้นต้องเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้งานเขียนดียิ่งขึ้น ไม่จบแบบห้วน ๆ อย่างไร้ข้อสรุป

การตั้งชื่อเรียงความ

  • กระชับ น่าสนใจ การตั้งชื่อเรียงความไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้อ่านยาก คนไม่จำ อีกทั้งชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าประเด็นของเรียงความคืออะไรกันแน่
  • ตรงประเด็นกับเนื้อหา เมื่อเขียนถึงเรื่องอะไรก็ควรจะตั้งชื่อเรื่องให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน ผู้อ่าน อ่านแล้วรู้ว่าเขียนเรื่องอะไร
  • ชื่อเรื่องต้องน่าสนใจ ทำให้อยากอ่าน การตั้งชื่ออย่างเหมาะสม มีความน่าสนใจ ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้ไม่น่าดึงดูด ผู้อ่านไม่อยากอ่าน

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น จะต้องมีประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการเขียน โดยที่ต้องแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องให้เหมาะสม เป็นลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ และที่สำคัญคือการใช้ภาษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกหลักภาษา ใช้คำเป็นทางการ ตรวจทานคำผิดเพื่อนให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างลื่นไหล และสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้เขียน

 

การเขียนเรียงความนั้นถึงจะมีหลายขั้นตอน เพราะการจะเขียนเรียงความต้องสามารถฟัง พูด คิด และจับใจความเพื่อให้เขียนออกมาได้ดี อีกทั้งผู้เขียนยังต้องรู้จักศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจของเราหรอกค่ะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นฝึกเขียนเรียงความบ่อย ๆ ตามเทคนิคการเขียนที่ได้เรียนไปก็จะสามารถเขียนได้อย่างลื่นไหลเอง สุดท้ายนี้อย่าลืมชมคลิปของครูระหว่างฝึกนะคะ จะได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้นำเสนอ การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่น้องๆจะได้รู้จักกับ บทนิยามของเลขยกกำลัง ซึ่งจะทำให้น้องๆรู้จักเลขชี้กำลังและฐานของเลขยกกำลัง และสามารถหาค่าของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกได้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเลขยกกำลังผ่านนิยามของเลขยกกำลัง ดังต่อไปนี้ บทนิยามของเลขยกกำลัง บทนิยาม  ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” เขียนแทนด้วย aⁿ  มีความหมายดังนี้ a

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

สุภาษิตสอนหญิง ข้อคิดเตือนใจหญิงจากยุคสู่ยุค

สุภาษิต คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบกันมาตั้งแต่อดีต มีความหมายเป็นคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต ทั้งทางความคิด การพูด และการกระทำ มีสุภาษิตมากมายที่สอนถึงการปฏิบัติตัวของผู้หญิงให้ถูกต้องเหมาะสม บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในบทเรียนเรื่องสุภาษิตที่มีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างมาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราจะดูพร้อมกันเลยค่ะ   สุภาษิตสอนหญิง : ความเป็นมา     สุภาษิตสอนหญิง เป็นวรรณกรรมคำสอนประเภทกลอนสุภาพ แต่งโดยสุนทรภู่ ประมาณปี

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยา

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยากันเถอะ   สวัสดีค่ะ มาพบกับแอดมินและ Nock Academy กับบทความเตรียมสอบเข้าม.1 กันอีกแล้วแต่วันนี้เรามาในบทความการสอบเข้าของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานกว่า 118 ปี อีกทั้งยังเคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่าและเคยได้รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันธ์กับราชวงศ์ของไทยและเป็นสถานที่ที่เคยต้อนรับราชวงศ์ชั้นสูงมาแล้วอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความเก่าแก่และยาวนานของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสตรีวิทยานั้นเป็นที่รู้จัก แต่ในด้านของวิชาการก็มีความเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นเดียวกัน โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีอัตราการสอบเข้าศึกษาที่สูงมากในแต่ละปี

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1