อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

อิเหนา

 

อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ ได้ฟังเรื่องราวจากข้าหลวงชาวชวา เมื่อเห็นว่าเนื้อเรื่องสนุกจึงนำมาแต่งเป็นบทละคร โดยเจ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา)

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์อิเหนาขึ้นมาใหม่เป็นบทละคร เรียกว่า ละครใน

 

อิเหนา

 

อิเหนา

 

 

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

 

 

 

ในดินแดนชวาโบราณ มีกษัตริย์ราชวงศ์หนึ่งชื่อ วงศ์อสัญแดหวา หรือ วงศ์เทวา คือ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ปกครองเมืองกันคนละเมืองตามชื่อของตัวเอง ท้าวกุเรปันมีโอรสที่เก่งกล้าสามารถ ชื่อ อิเหนา ท้าวดาหามีธิดาที่มีรูปโฉมงดงามชื่อ บุษบา กษัตริย์ทั้งสองเมืองจึงให้โอรสและธิดาหมั้นกันไว้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เมื่อโตขึ้น อิเหนาต้องเดินทางไปช่วยปลงพระศพพระอัยกีที่เมืองหมันยา จึงได้พบกับจินตะหรา ธิดาท้าวมันหยา อิเหนาตกหลุมรักทำให้ไม่อยากกลับไปแต่งงานกับบุษบา

เมื่อท้าวดาหาทราบเรื่องก็ทรงเคืองจึงประกาศว่าถ้าใครมาขอบุษบาก็จะยกให้ทันที จรกาที่เห็นรูปบุษบาก็ตกหลุมรักจึงมาสู่ขอ เช่นเดียวกับวิหยาสะกำ แต่เมื่อพระบิดาอย่างท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตมาสู่ขอ ก็พบว่าท้าวดาหาได้ยกบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพไปหมายจะตีเมืองดาหา ทำให้ท้าวดาหาต้องไปขอความช่วยเหลือจากพี่น้องในวงศ์เทวาทั้งสี่เมืองมาช่วยกันรบ อิเหนาถูกตามตัวกลับอีกครั้ง และครั้งนี้ท้าวกุเรปันก็ยื่นคำขาดว่าถ้าหากไม่กลับมาช่วยรบจะตัดพ่อตัดลูก อิเหนาจึงต้องจำใจจากนางจินตะหรามารบกับท้าวกะหมังกุหนิง จนในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

 

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีของชาวชวาเรื่องนี้ถึงได้ถูกนำมาแต่งขึ้นใหม่ในภาษาไทยและโด่งดังเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเนื้อเรื่องที่สนุกและน่าติดตามนี้เองค่ะที่ทำใครไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ยินต่างก็ต้องอยากจะอ่านต่อ รวมถึงยังได้ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมและการใช้ภาษาที่แสนจะงดงามในเรื่องได้อีกด้วย สำหรับตัวบทและคุณค่าของวรรณคดี น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในบทถัดไปนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่สับสนเกี่ยวกับตัวละครและเมืองต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่องนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1