อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ความเป็นมาของ

 

อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) รวมกับ ภาษิต ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา จุดเริ่มต้นของวรรณคดีเรื่องนี้มาจากการที่ผู้แต่งน้อยใจที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสบริภาษว่าเป็นบ้า และคนอื่น ๆ ก็พากันเห็นด้วยว่าพระองค์เป็นผู้มีพระจริตที่ไม่ปกติ ทำให้แต่งกลอนเพลงยาวนี้ขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาในเรื่องจึงเต็มไปด้วยการเหน็บแนมประชดประชันและเสียดสีสังคม

 

อิศรญาณภาษิต

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเพลงยาว กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรักหรือเล่าสู่กันฟัง ขึ้นต้นด้วยวรรรับหรือวรรคที่สองของบท

 

อิศรญาณภาษิต

 

กลอนเพลงยาวในระยะแรกไม่เคร่งครัดในเรื่องฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผนตายตัว จำนวนคำในแต่ละวรรคมีได้ตั้งแต่ 6-15 คำ การส่งสัมผัสมีลักษณะไม่คงที่

 

ตัวบทที่สำคัญ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ถอดความ สอนเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างหญิงกับชาย ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยยกสำนวนโบราณมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก แต่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ

 

 

ถอดความ การที่ไม่ยศถาบรรดาศักดิ์ จะไปเถียงกับใครก็เถียงได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อ พูดไปไม่มีใครฟัง และนอกจากนี้ยังมีสำนวนไทย ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้

 

 

ถอดความ เสาหินใหญ่ เมื่อถูกผลักเข้าบ่อย ๆ ก็อาจทำให้สั่นคลอนได้ เปรียบเหมือนใจคนที่ถ้าหากฟังคำยุมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้ใจหวั่นไหว จึงควรฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่าย ๆ

 

 

ถอดความ การจะสร้างอะไรก็ตาม ไม่ควรสร้างให้สูงเกินกว่ากว่าที่ฐานจะรับน้ำหนักไหว มิเช่นนั้นอาจจะทำให้สิ่งที่สร้างมาล้มลง และยังสอนให้รู้จักศึกษาหาความรู้แต่ให้เก็บความรู้นั้นไว้ใช้เมื่อเกิดปัญหา ไม่เอาความรู้ไปโอ้อวด

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและตัวบทในเรื่องอิศรญาณภาษิต กันไปแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้แม้แรกเริ่มจะมีจุดประสงค์มาจากการแต่งเพื่อประชดประชันและเสียดสีสังคม แต่ก็ถือว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง เพราะได้สอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยน้อง ๆ สามารถไปฟังคำอธิบายของตัวบทเด่น ๆ ในเรื่องเพิ่มเติมได้ในคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามบทเรียนต่อไปเพื่อศึกษาคุณค่าในวรรณคดีเรื่องนี้กันนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พันธกิจของภาษา   พันธกิจของภาษาคืออะไร?   พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

การใช้ the

การใช้ The

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง “การใช้ The” ซึ่งเป็น 1 ใน Articles ที่สำคัญมากๆ พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Let’s go!   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน

โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร     ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค เกริ่นนำเกริ่นใจ   ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb

สุภาษิตสอนหญิง ข้อคิดเตือนใจหญิงจากยุคสู่ยุค

สุภาษิต คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบกันมาตั้งแต่อดีต มีความหมายเป็นคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต ทั้งทางความคิด การพูด และการกระทำ มีสุภาษิตมากมายที่สอนถึงการปฏิบัติตัวของผู้หญิงให้ถูกต้องเหมาะสม บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในบทเรียนเรื่องสุภาษิตที่มีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างมาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราจะดูพร้อมกันเลยค่ะ   สุภาษิตสอนหญิง : ความเป็นมา     สุภาษิตสอนหญิง เป็นวรรณกรรมคำสอนประเภทกลอนสุภาพ แต่งโดยสุนทรภู่ ประมาณปี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1