ศึกษา นิทานเวตาล เรื่องที่10 และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นิทานเวตาล เป็นนิทานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยคุณค่าและคติธรรมมากมาย หากแต่เต็มไปด้วยคุณค่า สำหรับฉบับแปลไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีด้วยกัน 10 เรื่อง เรื่องที่อยู่ในแบบเรียนภาษาไทย คือเรื่องสุดท้าย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในนิทานเรื่องนี้เพื่อถอดความหมายและศึกษาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่นใน นิทานเวตาล เรื่องที่10

 

บทที่ 1

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

 

ถอดความ ประโยคข้างต้น สอนเรื่องคำพูด เปรียบเทียบว่าลิ้นนั้นถึงจะอ่อนนุ่มและก็สามารถตัดคอคนได้ ซึ่งในที่นี้หมายถึงคำพูดไม่ดีที่ทำให้คนฟังเจ็บปวด รู้สึกไม่ดี

 

บทที่ 2

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

 

ถอดความ ประโยคข้างต้น กล่าวถึงตอนก่อนที่ท้าวมหาพลจะลี้ภัย ว่ามีข้าศึกพยายามจะซื้อใจทหารของพระอค์ โดยวิธีการซื้อใจนั้นก็มีทั้งอ่อนและแข็ง ทหารคนไหนที่ซื้อได้ด้วยเงินก็จะรับทองคำไป ส่วนคนไหนที่ยังจงรักภักดี ซื้อไม่ได้ก็จะถูกฆ่าทิ้ง

 

บทที่ 3

 

ถอดความ ประโยคข้างต้น เป็นตอนที่ท้าวจันทรเสนเจอรอยเท้า 2 รอยอยู่ในป่าแล้วคิดว่าต้องเป็นของผู้หญิงที่สวยมาก ๆ เพราะปกติการเจอผู้หญิงในป่าไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้หญิงคนนั้นจึงจะต้องเป็นคนที่สวยกว่าผู้หญิงในเมืองทั่ว ๆ ไปอย่างแน่นอน

 

บทที่ 4

 

ถอดความ ประโยคข้างต้น เป็นการใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ เปรียบเทียบว่าบ้านที่ไม่มีผู้หญิงมาคอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่ต่างอะไรกับอยู่ในคุก ที่มีแต่ผู้ชายด้วยกัน

 

คุณค่าและแนวคิดของนิทานเวตาล

 

 

คุณค่าทางวรรณศิลป์

การใช้สำนวนภาษา ใช้คำง่ายๆ มีการอธิบายอย่างชัดเจน แฝงข้อคิดและคำคมที่น่าสนใจ การเขียนบทร้อยแก้วของน.ม.ส. นั้นมีเอกลักษณ์ เป็นการแปลที่เข้ากับบริบทของไทยและไม่ติดขัด อารมณ์ของตัวละครถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน สื่อให้เห็นว่าพระองค์นั้นแสดงลีลาการเขียนที่ “ไม่เลียนแบบใคร และไม่มีใครเลียนแบบได้” เป็นลักษณะเฉพาะที่เรียกกันว่า สำนวน น.ม.ส. ทำให้นิทานเวตาลน่าอ่านมากขึ้น

คุณค่าด้านเนื้อหา

เนื้อหาของนิทานสอนคติในการดำรงชีวิต เป็นนิทานคติธรรมที่ยังแฝงไว้ซึ่งความตลกขบขัน คำถามที่เป็นปริศนาชวนให้คิดของเวตาลช่วยเพิ่มสติปัญญาและไหวพริบของผู้อ่าน

ข้อคิด

นิทานเวตาล เรื่องที่10

 

แม้เวลาจะผ่านมานับพันปี แต่นิทานเวตาลก็ยังคงได้รับความนิยมข้ามผ่านกาลเวลา น้อง ๆ อ่าน นิทานเวตาล เรื่องที่10 นี้แล้วได้ขบคิดถึงปัญหาที่เวตาลถามตามพระเจ้าวิกรมาทิตย์กันหรือเปล่าคะ แล้วได้คำตอบกันมาว่าอย่างไรบ้าง นิทานที่เวตาลเล่าให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์ฟังนั้น ถึงจะเป็นคนธรรมดาแต่ก็สามารถคิดตามได้ เพราะปมปัญหาที่เวตาลได้สร้างขึ้นล้วนมีปรัชญาทางศีลธรรมจรรยา ดังนั้นทุกคนจึงสามารถขบคิดและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ สุดท้ายนี้ก่อนไปทำแบบฝึกหัด น้อง ๆ อย่าลืมดูคลิป สรุปความรู้เพื่อเข้าใจเรื่องทั้งหมดได้อย่างง่าย ๆ นะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

past tense

Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1