ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน
ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย

อมรินทร์    หมายถึง     พระอินทร์

คช             หมายถึง    ช้าง, ช้างพลาย

นิรมิต         หมายถึง    นิมิต, เนรมิต, บันดาลให้เกิดขึ้น

สีสังข์         หมายถึง    สีขาว (สีเหมือนหอยสังข์)

โอฬาร์        หมายถึง    ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต, เลิศล้น

ถอดความได้ว่า

อินทรชิตได้จำแลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งลักษณะของช้างที่เนรมิตมานี้ก็ดูแข็งแรงและมีฤทธา ผิวของช้างเอราวัณเป็นสีขาวเผือกผ่องสะอาดราวสีของสังข์และตัวใหญ่โตมาก ๆ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

โสภา          หมายถึง    สวย, งาม

รูจี              หมายถึง    แสงสว่าง, ความงาม, ความรุ่งเรือง

โบกขรณี    หมายถึง    สระบัว

อุบล            หมายถึง   ดอกบัวสาย

ถอดความได้ว่า

ช้างนั้นมีสามสิบสามหัวแต่ละหัวมี 7 งา สวยงามราวกับเพชรที่ส่องแสงประกาย ในแต่ละงานั้นจะมีสระบัว 7 สระ แต่ละสระก็มีกอบัว    7 กอ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

ดวงมาลย์         หมายถึง    ดอกบัว

ผกา                 หมายถึง     ดอกไม้

โสภา               หมายถึง     สวย, งาม

แน่งน้อย          หมายถึง    มีรูปร่างบอบบาง,

ลำเพา             หมายถึง    โฉมงาม

นงพาล           หมายถึง     สาวแรกรุ่น

ถอดความได้ว่า

กอบัวแต่ละกอมีดอกบัว 7 ดอก ในแต่ละดอกที่แบ่งบานนี้จะมีกลีบบัวอยู่ 7 กลีบ แต่ละกลีบจะมีเทพธิดา 7 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีรูปโฉมงดงามมาก 

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

เยาวมาลย์        หมายถึง     หญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงาม

มายา                หมายถึง     ลวงตา, มารยา, การแสร้งทำ

อัปสร                หมายถึง     นางฟ้า, เทพธิดา

บวร                   หมายถึง     ประเสริฐ, ล้ำเลิศ

เกศ                   หมายถึง     หัว, ศีรษะ

กุญชร               หมายถึง     ช้าง

เวไชยันต์           หมายถึง     ปราสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

ถอดความได้ว่า

เทพธิดาแต่ละองค์จะมีบริวารองค์ละ 7 คน ทั้งหมดนี้ล้วนเนรมิตขึ้นมาทั้งสิ้น นางเหล่านี้ฟ้อนระบำร่ายรำงดงามพริ้วไหวราวกับนางฟ้านางสวรรค์ลงมาร่ายรำให้ดู หัวของช้างแต่ละหัวนั้นก็จะมีวิมานตั้งอยู่ วิมานเหล่านั้นสวยดุจดั่งประสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

บทพากย์เอราวัณ

ประเมินคุณค่า

  • ด้านเนื้อหา

1. ได้ศึกษาวรรณคดีของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ใช้ในการแสดงโขนมายาวนาน
2. ทำให้ทราบถึงลักษณะของช้างเอราวัณว่ามีลักษณะอย่างไร
3. แสดงถึงแง่มุมที่ให้ข้อคิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่าหลงเชื่อใคร หรือหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ

  • ด้านวรรณศิลป์

เป็นวรรณคดีที่แต่งได้อย่างมีชั้นเชิง สามารถใช้ภาษาอันไพเราะมาร้อยเรียงด้วยลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 ใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสวยงาม และลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี อาทิ

“เศียรหนึ่งเจ็ดงา             ดั่งเพชรรัตน์รูจี”

“มีวิมานแก้วงามบวร        ทุกเกศกุญชร         ดังเวไชยันต์อัมรินทร์”

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้ถอดคำประพันธ์กันแล้วพอจะเห็นภาพความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณบ้างหรือเปล่า ต้องบอกว่าบทพากยฺเอราวัณ์นี้สามารถแต่งออกมาบรรยายลักษณะของช้างเอราวัณนี้ไว้ได้อย่างละเอียด และไพเราะมากจริง ๆ เป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันรักษาไว้ ส่วนน้อง ๆ คนไหนอยากจะศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้ดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง การแก้สมการกำลังสอง สามารถทำได้โดยการ แยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง และใช้สูตร เราแก้สมการเพื่อหาคำตอบหรือหาค่าของตัวแปร ในบทความนี้พี่จะพูดถึงสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งอยู่ในรูป ax² + bx + c = 0 โดยที่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตัวอย่างสมการกำลังสองตัวแปรเดียว 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1