ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ

 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

 

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมยังเล็ก

 

ถอดความ พ่อขุนรามคำแหงได้บอกเล่าเรื่องราวของตัวเองว่ามีพ่อชื่อศรีอินทราทิตย์ มีแม่ชื่อนางเสือก มีพี่ชื่อบานเมือง มีพี่น้องร่วมสายเลือดอยู่ 5 คน ผู้ชายสามคน และผู้หญิง 2 คน พี่คนโตเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเล็ก

 

เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจะแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน

 

ถอดความ เมื่ออายุได้ 19 ปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดยกทัพมาตีเมืองตาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไปรบด้านซ้าย แต่ขุนสามชนมาด้านขวา เมื่อเคลื่อนทัพเข้ามาก็ทำให้ไพร่พลที่หวาดกลัววิ่งหนีกันกระเจิง แต่พ่อขุนรามคำแหงไม่หนีอีกทั้งยังขี่ช้างเข้าไปสู้กับขุนสามชน

 

ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน

 

ถอดความ  พ่อขุนรามคำแหงทำการชนช้างสู้กับช้างของขุนสามชนที่มาสเมืองแล้วชนะ ทำให้ขุนสามชนแพ้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงตั้งชื่อให้ว่าพระรามคำแหง เพราะรบชนะขุนสามคน

 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

 

เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดอันกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้
กูเอามาแก่พ่อกู

 

ถอดความ ในตอนนี้จะพูดถึงความกตัญญูของพ่อขุนรามคำแหงที่มีต่อพ่อแม่ คอยดูแล ได้เนื้อ ผลไม้ดี ๆ ก็เอามาให้พ่อแม่ ไปคล้องช้างได้ช้างดี ๆ ก็เอามาให้พ่อ

 

กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม

 

ถอดความ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงไปตีกับเมืองอื่น ได้ช้าง งวง เชลย ผู้หญิง เงิน ทอง ก็เอามาให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์แล้วพ่อขุนบานเมืองขึ้นครองราชย์ต่อ พ่อขุนรามคำแหงก็ยังคงความกตัญญูต่อพี่ชายเหมือนที่ทำให้พระราชบิดา จนเมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ เมืองทั้งหมดจึงตกมาเป็นของพ่อขุนรามคำแหง

 

ตัวบทศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ยกมา เป็นเรื่องราวตั้งแต่ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงจะได้ขึ้นครองราชย์จนกระทั่งได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ น้อง ๆ สามารถดูต้นฉบับเทียบกับคำแปลเพิ่มเติมของจารึกหลักที่ 1 ได้ที่ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ

คุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1

 

ด้านเนื้อหา 

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

คุณค่าด้านเนื้อหาที่อยู่ในศิลาจารึก ทำให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจของพ่อขุนรามคำแหง ทั้งการรบ การขึ้นครองราชย์ และที่มาของชื่อ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงพระจริยวัตรอันงดงามในการปฏิบัติตนด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและพี่ชาย

 

ด้านแนวคิด

ศิลาจารึก หลักที่ 1

 

คุณค่าด้านแนวคิดที่เห็นอย่างเด่นชัดที่สุดคือความกล้าหาญของพ่อขุนรามคำแหง ความต้องการที่ปกป้องบ้านเมืองทำให้พระองค์กล้าออกไปชนช้างกับศัตรูอย่างเด็ดเดี่ยว และเรื่องของความกตัญญูที่พ่อขุนรามคำแหงให้อธิบายไว้อย่างละเอียดว่าตนดูแลทั้งพระบิดาและมารดาอย่างดี รวมไปถึงพี่ชายอย่างพ่อขุนบานเมืองด้วย

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

ประโยคที่ปรากฏมักเป็นประโยคความเดียว เช่น กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู ทั้งหมดนี้เป็นประโยคความเดียว นอกจากนี้ยังมีการใช้คำไทยแท้ หรือภาษาคำโดด ซึ่งภาษาคำโดด หมายถึง ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น เป็นคำพยางค์เดียว

 

คุณค่าด้านสังคม

 

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกบอกเล่าความอุดมสมบูณ์ของบ้านเมืองอย่างเช่น ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว สะท้อนให้เป็นถึงความเป็นอยู่ที่ไม่ขาดแคลนหรืออดอยาก และการทำศึกเพื่อปกป้องดินแดน ในอดีต  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่พยายามรักษาประเทศชาติ นอกจากนี้ยังพูดถึงการสืบราชสันติวงศ์ หรือการสืบทอดราชสมบัติ เป็นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้ศึกษาและถอดความเนื้อหาในศิลาจารึกกันไปอย่างคร่าว ๆ แล้วยังได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของศิลาจารึกอีกด้วย ศิลาจารึกหรือจารึกวรรณคดีนี้มีความสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ เพราะทำให้คนรุ่นหลังอย่างเรา ๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และยังได้ข้อคิดมากมายอีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายเพิ่ม ก็ไปดูคลิปการย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะสอนเรื่องการถอดความและอธิบายเรื่องคำศัพท์อย่างละเอียด ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

ติดตามบทความภาษาไทยใหม่ ๆ ได้ที่ nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ถอดคำประพันธ์และคุณค่าในเรื่อง

หลังจากได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมากันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การถอดคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ตัวบทที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้จะเป็นเรื่องใด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์           หัวลิงหมากกลางลิง    ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กระไดลิง         

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1