วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

ฟังเพื่อจับใจความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

กระบวนการในการฟังของมนุษย์

การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5  ขั้นคือ

1) ขั้นได้ยิน คือ ได้ยินเสียงต่าง ๆ ผ่านการฟังด้วยหู

2) ขั้นรับรู้ คือ รับรู้ได้ว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร

3) ขั้นตีความ แยกแยะ คือ ให้เราตีความว่าสิ่งที่เราฟังเป็นสารอะไร มาจากที่ไหน ต้องการจะบอกอะไรเรา แยกแยะให้ได้ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน แล้วเราควรตอบสนองกลับไปไหม

4) ขั้นเข้าใจ คือ ขั้นตอนที่เกิดหลังจากการตีความ ผู้ฟังจะเข้าใจว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร สารที่ได้ฟังนั้นมีใจความสำคัญว่าอย่างไร

5) ขั้นตอบสนอง คือ หลังจากที่ได้พินิจพิจารณา ไตร่ตรองว่าเสียง หรือสารที่รับมามีแหล่งที่มาจากไหน น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดแล้ว สมองจะสั่งการให้เราตอบสนองไม่ว่าจะด้วยการพูด หรือเป็นภาษาทางร่างกาย

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

การฟังเพื่อจับใจความ คืออะไร

การฟังเพื่อจับใจความเป็นการฟังในขั้นที่ 3 ของกระบวนการฟัง เป็นการจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่เราฟังว่าผู้พูด หรือสารที่ถูกส่งมานั้นต้องการจะบอกอะไรกับเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้ทักษะการฟังเพื่อจับใจความถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราได้รับสารจากหลายทาง และมีหลากหลายรูปแบบ เราอาจจะได้ใช้ทักษะนี้ในการฟังครูสอนในห้อง ฟังข่าวในโทรทัศน์ หรือแม้แต่การสนทนากับเพื่อนก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะนี้เพื่อให้เราได้เนื้อหาสาระสำคัญโดยไม่ต้องจดจำให้ยืดยาว เก็บเพียงแค่แก่นสำคัญของเรื่องนั้นไว้ก็พอ เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

ลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความ

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสงสัยว่าการที่เราจะฟังแล้วจับใจความสำคัญได้ต้องทำอย่างไร การฟังแบบนี้มีลักษณะแบบไหน เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน โดยหลัก ๆ แล้วการฟังเพื่อจับใจความจะมีลักษณะสำคัญอยู่ทั้งหมด 3 ข้อ

1.การวิเคราะห์

คือ การแยกประเด็นนั้นออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เราเข้าใจองค์ประกอบ หรือรายละเอียดของสารที่ได้ฟัง ใช้การพินิจพิเคราะห์จนเข้าใจในเนื้อหาที่ฟังยกตัวอย่างเช่น การจำแนกส่วนประกอบของก๋วยเตี๋ยว หรือการแยกแยะองค์ประกอบของนิทานหนึ่งเรื่องว่ามีอะไรบ้าง

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

2. การสังเคราะห์

คือ การขมวดรวมเนื้อหาสาระให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน หรือหมวดหมู่ที่คล้ายคลึงกัน ทำให้เนื้อหานั้นกระชับ และครอบคลุม เข้าใจง่าย โดยใช้การสังเกตส่วนที่ชุดข้อมูลนั้นมีร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น การจัดหมวดหมู่สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

3. การแยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น

สำหรับลักษณะข้อต่อมาคือ การแยกแยะให้ได้ว่าสารที่ฟังนั้นเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น เพราะมันจะส่งผลต่อ
ความรู้สึกเชื่อถือ หรือคล้อยตามไปกับสิ่งที่ฟังด้วย เราอาจจะเห็นมากในการฟังสารประเภทข่าว หรือโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะสังเกตว่าข้อคิดเห็นมักจะใส่อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวลงไป ส่วนข้อเท็จจริงจะต้องมีการพิสูจน์ มีเหตุมีผลที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

บทส่งท้าย

การฟังถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นทักษะเริ่มต้นในทุกภาษา และต้องใช้ในทุกสถานการณ์ ถ้าน้อง ๆ อยากรับฟังสารที่ดี มีความน่าเชื่อถือ ได้สาระสำคัญ การฟังเพื่อจับใจความจึงเป็นสิ่งที่เราต้องฝึกฝน เพียงแค่เริ่มจากการลองแยกแยะเรื่องที่ฟัง ไม่ว่าเป็นสารที่มาจากการสนทนา หรือสารที่เรารับฟังจากสื่อต่าง ๆ  ยิ่งเราเรียนในระดับที่สูงขึ้น เราก็จะได้ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตีความสารที่ฟังในเชิงลึกขึ้นด้วย ดังนั้น หวังว่าน้อง ๆ จะได้ประโยชน์จากเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ และอย่าลืมว่าก่อนจะรับสารอะไรมาต้องผ่านการวิเคราะห์ตีความให้ดีก่อนที่จะเชื่อ เพื่อให้น้อง ๆ ได้รับประโยชน์จากเนื้อหานั้นอย่างแท้จริง

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำขวัญ คืออะไร   คำขวัญ คือ

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1