ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

ราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ราชาศัพท์

 

ราชาศัพท์

 

การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์

2.พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระสังฆราชเจ้าและพระสงฆ์

4. ขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง

5. สุภาพชน

 

นอกจากนี้คำราชาศัพท์ยังแต่งตามระดับบุคคลดังนี้ได้อีกด้วย

 

ราชาศัพท์

 

1. ชาติวุฒิ

ชาติกำเนิด เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ประเทศไทยไม่ได้มีการแบ่งชนชั้นวรรณะแต่ให้ความเคารพกันและกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีชาติกำเนิดสูง ๆ อย่างเช่นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระมหากษัตริย์

2. วัยวุฒิ

นอกเหนือจากชาติกำเนิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญคืออายุ ผู้ที่อายุน้อยกว่า ต้องให้ความสำคัญ เคารพผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความนอบน้อม

3.คุณวุฒิ

แม้ว่าคุณวุฒิ หรือระดับศึกษา จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ ไม่เหมือนชาติกำเนิดหรืออายุที่มีติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็เป็นสิ่งที่คนในสังคมให้ความเคารพ เพราะผู้ที่มีคุณวุฒิ ก็คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ

 

คำราชาศัพท์ที่ควรรู้

 

คำราชาศัพท์จะถูกแบ่งออกเป็นหมวด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

 

 

ในวันนี้หมวดที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันก็คือหมวดเครือญาติ จะมีคำอะไรที่ควรรู้บ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

หมวดเครือญาติ

  • พ่อ เรียกว่า พระบิดา
  • แม่ เรียกว่า พระมารดา
  • พี่ชาย เรียกว่า พระเชษฐา
  • น้องชาย เรียกว่า พระอนุชา
  • พี่สาว เรียกว่า พระเชษฐภคินี
  • น้องสาว เรียกว่า พระขนิษฐา
  • ตา ปู่ เรียกว่า พระอัยกา
  • ย่า ยาย เรียกว่า พระอัยยิกา

 

คำราชาศัพท์เป็นการใช้ถ้อยคำที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทยที่ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์และหาได้ยากในภาษาอื่น เพราะเป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่นอกจากจะมีรูปแบบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์แล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ให้ความเคารพแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้แบ่งชนชั้น แต่เป็นความเหมาะสมและกาลเทศะ ที่เราจะต้องใช้กันให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ หลังจากที่วันนี้น้อง ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ หมวดเครือญาติเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไปแล้ว ต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้หลักการใช้ รวมไปถึงคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น แต่รับรองว่าไม่ยากเกินความเข้าใจแน่นอนค่ะ ถ้าเราหมั่นทบทวนบทเรียน และไม่ลืมที่จะดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบาย และทำแบบฝึกหัดไปด้วย ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   มหาเวสสันดรชาดก   มหาชาติชาดก

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

ตัวอย่างโจทย์ปัญหาสัดส่วน

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1