ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ

 

ความหมายของ ระดับภาษา

 

ระดับภาษา

 

ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร

 

ความสำคัญของระดับภาษา

 

ระดับภาษานั้นมีขึ้นเพื่อให้บุคคลแต่ละกลุ่มสื่อสารกันได้อย่างง่ายแต่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมของไทยต้องนับถือผู้ที่อาวุโสกว่า และมีงานพิธีการต่าง ๆ เยอะ ทำให้ต้องมีภาษาที่ต่างจากภาษาพูดทั่วไป นอกจากนี้ระดับภาษายังเป็นการบอกถึงวัฒนธรรมของภาษาไทยอีกด้วย เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ภาษามีการเปลี่ยนแปลง คำเก่าหลายคำจึงถูกเปลี่ยนไปเป็นคำศัพท์เก่าที่ไม่ค่อยมีคนใช้ยกเว้นจะใช้ในพิธีการหรืออย่างเป็นทางการ

 

ระดับภาษา

 

ประเภทของระดับภาษา

 

ระดับภาษามีทั้งหมด 5 ระดับ แบ่งออกมาได้ดังนี้

 

ระดับภาษา

 

ระดับพิธีการ เป็นภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มีความประณีต งดงาม ภาษาที่ใช้เป็นคำระดับสูงและมีความซับซ้อนของประโยคอยู่ ภาษาในระดับนี้จะใช้ในโอกาสสำคัญอย่างงานราชพิธี วรรณกรรมชั้นสูง

ระดับทางการ เป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มักใช้ในโอกาสสำคัญ ๆ ที่เป็นทางการ อย่างเช่น หนังสือราชการวิทยานิพนธ์ รายงานทางวิชาการ การกล่าวปราศรัย กล่าวเปิดพิธีหรืองานสำคัญ

ระดับกึ่งทางการ ระดับภาษานี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างระดับที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่สุภาพ แต่ไม่ได้เคร่งครัดเท่าภาษาทางการ อาจมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปนด้วย มักใช้ในการติดต่อธุรกิจ หรือพูดกับคนที่ไม่รู้จัก ไม่สนิท และยังใช้กับงานเขียนอย่างเช่น สารคดี บทวิจารณ์ เกี่ยวกับบันเทิงคดีต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เนื้อหาเครียดเกินไป

ระดับสนทนา เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับบุคคลที่รู้จักหรือไม่รู้จักในเวลาส่วนตัว ร่วมถึงเจรจาซื้อขายหรือการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มักมีรูปประโยคง่าย ๆ แต่ยังคงความสุภาพ เช่น การรายงานข่าว การเจรจาธุระทั่วไป

ระดับกันเอง เป็นภาษาพูดทั่วไปที่ใช้กับคนสนิท มีจุดประสงค์คือเพื่อนความสนุกสนาน ภาษาที่ใช้ขึงเป็นภาษาที่ฟังแล้วดูสบาย ๆ ไม่เคร่งครัด โดยคำที่ใช้จะมีทั้งคำหยาบ คำสแลง คำตัด ประโยคอาจไม่สมบูรณ์แต่ผู้สื่อสารและผู้รับสารจะเข้าใจความหมายกัน ไม่นิยมใช้ภาษาเขียนอย่างพวกวรรณกรรม วรรณคดี หรืองานเขียนที่เป็นทางการ แต่จะสามารถใช้เรื่องสั้น นวนิยาย ภาษาข่าวในหนังสือพิมพ์ หรือการเขียนบทละคร เป็นต้น

 

 

การแบ่งระดับภาษา

 

การแบ่งระดับภาษาจะพิจารณาจากโอกาส กาลเทศะ และสถานะของผู้พูดกับผู้ฟังรวมไปถึงเนื้อหา เพื่อให้เลือกใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

 

การใช้ระดับภาษา ต้องใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะเพื่อให้เหมาะสม หลังได้เรียนเนื้อหาในบทเรียนวันนี้กันไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงพอจะเข้าใจและมองภาพออกกันใช่ไหมคะว่าเราควรใช้ภาษาแบบไหนกับใคร ก่อนจากกันน้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนนะคะ จะได้ใช้ภาษากันได้อย่างถูกต้อง และเพื่อไม่ให้พลาดเวลาเจอในข้อสอบ ก็ไปติดตามชมคลิปการสอนของครูอุ้ม ฟังคำอธิบายไปพร้อม ๆ กับฝึกคิดและวิเคราะห์ภาษา จะยิ่งทำให้น้อง ๆ เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้นนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

การใช้ Possessive Pronoun

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive Pronoun ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า บทนำ Possessive pronoun (เช่น mine, yours, hers) ถือเป็นหัวข้อหนึ่งในภาษาอังกฤษที่หลายคนมักจะสับสน นั่นก็เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับ Possessive adjective (เช่น my, your, her) ลองเปรียบเทียบประโยคเหล่านี้ดูนะคะ   A

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1