ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ

 

ความหมายของ ระดับภาษา

 

ระดับภาษา

 

ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร

 

ความสำคัญของระดับภาษา

 

ระดับภาษานั้นมีขึ้นเพื่อให้บุคคลแต่ละกลุ่มสื่อสารกันได้อย่างง่ายแต่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมของไทยต้องนับถือผู้ที่อาวุโสกว่า และมีงานพิธีการต่าง ๆ เยอะ ทำให้ต้องมีภาษาที่ต่างจากภาษาพูดทั่วไป นอกจากนี้ระดับภาษายังเป็นการบอกถึงวัฒนธรรมของภาษาไทยอีกด้วย เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ภาษามีการเปลี่ยนแปลง คำเก่าหลายคำจึงถูกเปลี่ยนไปเป็นคำศัพท์เก่าที่ไม่ค่อยมีคนใช้ยกเว้นจะใช้ในพิธีการหรืออย่างเป็นทางการ

 

ระดับภาษา

 

ประเภทของระดับภาษา

 

ระดับภาษามีทั้งหมด 5 ระดับ แบ่งออกมาได้ดังนี้

 

ระดับภาษา

 

ระดับพิธีการ เป็นภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มีความประณีต งดงาม ภาษาที่ใช้เป็นคำระดับสูงและมีความซับซ้อนของประโยคอยู่ ภาษาในระดับนี้จะใช้ในโอกาสสำคัญอย่างงานราชพิธี วรรณกรรมชั้นสูง

ระดับทางการ เป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มักใช้ในโอกาสสำคัญ ๆ ที่เป็นทางการ อย่างเช่น หนังสือราชการวิทยานิพนธ์ รายงานทางวิชาการ การกล่าวปราศรัย กล่าวเปิดพิธีหรืองานสำคัญ

ระดับกึ่งทางการ ระดับภาษานี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างระดับที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่สุภาพ แต่ไม่ได้เคร่งครัดเท่าภาษาทางการ อาจมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปนด้วย มักใช้ในการติดต่อธุรกิจ หรือพูดกับคนที่ไม่รู้จัก ไม่สนิท และยังใช้กับงานเขียนอย่างเช่น สารคดี บทวิจารณ์ เกี่ยวกับบันเทิงคดีต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เนื้อหาเครียดเกินไป

ระดับสนทนา เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับบุคคลที่รู้จักหรือไม่รู้จักในเวลาส่วนตัว ร่วมถึงเจรจาซื้อขายหรือการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มักมีรูปประโยคง่าย ๆ แต่ยังคงความสุภาพ เช่น การรายงานข่าว การเจรจาธุระทั่วไป

ระดับกันเอง เป็นภาษาพูดทั่วไปที่ใช้กับคนสนิท มีจุดประสงค์คือเพื่อนความสนุกสนาน ภาษาที่ใช้ขึงเป็นภาษาที่ฟังแล้วดูสบาย ๆ ไม่เคร่งครัด โดยคำที่ใช้จะมีทั้งคำหยาบ คำสแลง คำตัด ประโยคอาจไม่สมบูรณ์แต่ผู้สื่อสารและผู้รับสารจะเข้าใจความหมายกัน ไม่นิยมใช้ภาษาเขียนอย่างพวกวรรณกรรม วรรณคดี หรืองานเขียนที่เป็นทางการ แต่จะสามารถใช้เรื่องสั้น นวนิยาย ภาษาข่าวในหนังสือพิมพ์ หรือการเขียนบทละคร เป็นต้น

 

 

การแบ่งระดับภาษา

 

การแบ่งระดับภาษาจะพิจารณาจากโอกาส กาลเทศะ และสถานะของผู้พูดกับผู้ฟังรวมไปถึงเนื้อหา เพื่อให้เลือกใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

 

การใช้ระดับภาษา ต้องใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะเพื่อให้เหมาะสม หลังได้เรียนเนื้อหาในบทเรียนวันนี้กันไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงพอจะเข้าใจและมองภาพออกกันใช่ไหมคะว่าเราควรใช้ภาษาแบบไหนกับใคร ก่อนจากกันน้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนนะคะ จะได้ใช้ภาษากันได้อย่างถูกต้อง และเพื่อไม่ให้พลาดเวลาเจอในข้อสอบ ก็ไปติดตามชมคลิปการสอนของครูอุ้ม ฟังคำอธิบายไปพร้อม ๆ กับฝึกคิดและวิเคราะห์ภาษา จะยิ่งทำให้น้อง ๆ เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้นนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

past tense

Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

การเขียนแนะนำความรู้

เขียนแนะนำความรู้อย่างไรให้น่าอ่าน แค่ทำตามหลักการต่อไปนี้

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย วันนี้เราได้เตรียมสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนมาให้น้อง ๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์กัน โดยเนื้อหาที่เราจะมาเรียนในวันนี้จะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อแนะนำความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจหลักการง่าย ๆ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนให้ความรู้ผู้อื่น โดยที่น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้ หรือใช้กับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้เลย เป็นพื้นฐานการเขียนที่เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึกฝนจะได้นำไปเขียนได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันเลยดีกว่า    

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1