พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้ เพราะหากทำสิ่งไม่ดีก็อาจจะทำให้เสื่อมเสียไปเลยก็ได้

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้ชี้แจงเรื่องเงินที่ส่งพระโอรสทั้ง 4 ไปเล่าเรียน เพื่อเป็นป้องกันการถูกติฉินนินทาจากการใช้เงินที่ประชาชนจ่ายเพื่อทำนุบำรุงประเทศมาส่งลูกเรียนจึงใช้เงินส่วนพระองค์แทนเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา

 

พระบรมราโชวาท

 

ถอดความ ความตอนนี้รัชกาลที่ 5 ได้อบรมสั่งสอนพระโอรสเกี่ยวกับใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากไปก่อเรื่องขึ้นมา คู่กรณีก็อาจจะไม่กล้าทำอะไรด้วยความที่เห็นพ่อเป็นคนใหญ่คนโตแต่ก็ไม่อยากให้พระโอรสไปทำพฤติกรรมที่ไม่ดีใส่ใครเพราะสุดท้ายมันก็จะเป็นโทษแก่ตัวเองทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า

 

คุณค่าที่แฝงอยู่ใน พระบรมราโชวาท

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

วรรณคดีเรื่องนี้อยู่ในรูปแบบของจดหมายร้อยแก้ว และสื่อสารกับผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา สอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและความคาดหวังของผู้เป็นพ่อแม่ที่หวังอยากจะให้ลูกเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

คุณค่าด้านสังคม วัฒนธรรม

สะท้อนสภาพสังคมไทยสมัยก่อนว่ามีเงินของแผ่นดินและเงินพระคลังข้างที่ซึ่งมาจากประชาชนที่มอบให้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาตามประเทศที่เจริญแล้วจึงนิยมส่งลูกหลานหรือคนมีความรู้ความสามารถไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่ต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของการเป็นพ่อของลูกที่ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากปัจจุบัน เป็นคำโบราณที่ในปัจจุบันที่การเปลี่ยนรูปแบบการใช้และคำศัพท์ไปตามกาลเวลา

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ใน พระบรมราโชวาท ถึงแม้จะไม่ใช่วรรณคดีที่เป็นบทร้อยกรองต่าง ๆ อย่างที่เคยเรียนกันในบทที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากอีกเรื่องหนึ่งเพราะได้สอดแทรกทั้งคุณธรรมและข้อคิดเตือนใจซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ เมื่อเรียนบทนี้จบแล้วน้อง ๆ ก็อย่าลืมตระหนักถึงข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้กันอยู่เสมอนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเกี่ยวกับตัวบทเล่น ๆ รวมถึงคุณค่าซึ่งได้ยกตัวอย่างบทประพันธ์และอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1