ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11 อีก 7 บท มีสาระสำคัญคือ การแสวงหาความรู้และการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

ตัวบท

 

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

 

แปล

คนที่มีความสามารถ มีได้เพราะรู้จักศึกษาหาความรู้ มีความรับผิดชอบ พยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองสงสัย และหาความรู้อยู่เสมอ มีความรับผิดชอบ และดำเนินชีวิตไปอย่างมีเหตุผล สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้เจริญ

 

 

แปล

ถ้าคนเรามีความสามารถ มีความรับผิดชอบ รู้จักวิเคราะห์พิจารณา ก็จะมีความเจริญยิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่ยังมีอายุน้อยอยู่ก็ควรจะสนใจในการศึกษา เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญให้กับความสามารถของตัวเอง เพราะความรู้ที่มียังมีไม่มากพอ ต้องขัดเกลานิสัยตัวเองให้ฝึกคิดวิเคราะห์ และรู้สึกใช้สติปัญญาเพื่อให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถ

 

 

แปล

การจะทำอะไรต้องพิจารณาด้วยความรู้ความสามารถอย่างมีเหตุมีผลถึงจะพูดได้ว่าเรามีสติปัญญาอย่างเต็มเปี่ยม ปัญหาก็เหมือนกับมีด การลับมีดกับหินให้คมนั้นทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าเราใช้มีดไม่เป็น เอาไปฟันคนเล่นก็จะได้รับโทษหนัก เมื่อใดที่เราใช้มีดเป็น ก็จะสามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ไม่ยาก

 

คำศัพท์น่ารู้

ปรีชา หมายถึง ความสามารถ

วิทยา หมายถึง ความรู้

พิจารณ์ หมายถึง ตรวจสอบ ตริตรอง

ยล หมายถึง มอง

พิพัฒน์ หมายถึง ความเจริญ

เพ็ญ หมายถึง เต็ม

มหันต์ หมายถึง ใหญ่, มาก

กอบกิจ หมายถึง ทำงาน

อนันต์ หมายถึง ไม่มีที่สิ้นสุด

ศัสตรา หมายถึง อาวุธ

 

ข้อคิด

การจะเป็นผู้เจริญที่มีความรู้ความสามารถนั้นจะต้องใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบ ใช้วิจารญาณในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กเพื่อให้เชี่ยวชาญทั้งในด้านการสังเกต การใช้เหตุผลและการตัดสินใจ

 

บทร้อยกรองสุภาษิตเรื่องผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นการแต่งในเชิงอธิบายเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจความหมายของสุภาษิตมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้คำยากที่ยากเกินไป เมื่อเรามีความเข้าใจในสุภาษิตแล้ว ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ น้อง ๆ เมื่อได้เรียนรู้บทประพันธ์กันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เราได้มีความรู้ ความสามารถมากขึ้นกันด้วยนะคะ และที่สำคัญที่สุดก็คือ น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนด้วยการชมคลิปการสอนของครูอุ้ม ในคลิปครูอุ้มได้อธิบายตัวบทให้น้อง ๆ เข้าใจอย่างง่าย ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

​พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1