บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

มัทนะพาธา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทั้งชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่องก็มีความหมายว่าความเจ็บปวดและความเดือดร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง

 

มัทนะพาธา

 

ลักษณะการประพันธ์

 

แต่งด้วยคำฉันท์ ที่ประกอบไปด้วยฉันท์และกาพย์ โดยที่ในตอนดำเนินเรื่องยาว ๆ จะใช้กาพย์ แต่ถ้าเน้นอารมณ์ตัวละคร เช่น คร่ำครวญหรือไหว้ครูก็จะใช้ฉันท์ แต่ในตอนที่ดำเนินเรื่องรวดเร็วก็จะใช้ร้อยแก้ว

 

มัทนะพาธา

 

เรื่องย่อ มัทนะพาธา

 

เป็นเรื่องสมมติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็นภาคสวรรค์และภาคพื้นโลกมนุษย์ เริ่มจากภาคสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่รับรัก สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา แต่ผลคือนางมัทนาเหม่อลอยอยู่ในมนต์ สุเทษณ์จึงขอให้มายาวินคลายมนต์ เมื่อได้สติแล้วนางมัทนาจึงปฏิเสธรัก สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางมัทนาลงไปเกิดเป็นมนุษย์

นางมัทนาขอให้ตัวเองได้ไปเกิดเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงให้นางไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ เป็นดอกไม้ที่งามทั้งกลิ่นและรูป แต่มีเฉพาะแค่ในสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมาก่อน โดยที่ดอกกุหลาบนั้นจะกลายเป็นมนุษย์แค่ 1 วัน 1 คืน ในวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และนางจะพ้นสภาพจากการเป็นกุหลาบก็ต่อเมื่อนางมีความรัก แต่นางจะได้รับความทนทุกข์จากความรัก เมื่อถึงเวลานั้น ให้นางมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือกับเทพบุตรสุเทษณ์

นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบในป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศินจึงขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ขณะทำการขุดก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง จึงรู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงเชิญนางมัทนาและสัญญาว่าจะปกป้องดูแล จึงทำการย้ายได้สำเร็จ หลังจากนั้นในคืนวันเพ็ญ ท้าวชัยเสนได้เสด็จออกล่าป่าและแวะมาพักที่อาศรมของฤษี เมื่อได้พบกับนางมัทนาที่แปลงร่างเป็นคนในคืนวันเพ้ญพอดีก็ตกหลุมรัก นางมัทนาก็มีใจเสน่หาต่อท้าวชัยเสนด้วยกัน ทั้งสองสาบานรักต่อกันทำให้นางมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นดอกไม้อีก

นางมัทนาตามท้าวชัยเสนกลับเมือง ทำให้นางจัณฑีผู้เป็นมเหสีโกรธมากจึงวางแผนใส่ร้ายว่านางเป็นชู้กับศุภางค์ผู้เป็นแม่ทัพ ท้าวชัยเสนเมื่อได้ยินข่าวก็เข้าใจผิด จึงสั่งประหารชีวิตทั้งคู่ แต่ทหารที่ได้รับคำสั่งมาประหารกลับรู้สึกสงสารนางจึงปล่อยไป นางมัทนากลับมายังป่าหิมะวันด้วยความโศกเศร้า จึงอ้อนวอนต่อเทพบุตรสุเทษณ์ให้มาช่วย เมื่อสุเทษณ์ลงมาก็ยื่นข้อเสนอให้นางมาเป็นคนรักเพื่อที่จะพากลับขึ้นไปบนสวรรค์ แต่นางมัทนายังคงปฏิเสธไม่รับรักอยู่ สุเทษณ์จึงโกรธและสาปให้นางมัทนากลายเป็นกุหลาบไปตลอดกาล ฝ่ายท้าวชัยเสนเมื่อเสร็จจากศึกสงครามก็เพิ่งรู้ความจริงว่านางมัทนาโดนใส่ร้ายจึงออกตามหา ก่อนจะพบว่านางได้กลายเป็นกุหลาบไปแล้ว จึงสั่งให้คนนำมาปลูกไว้ที่เมืองและดูแลไม่ให้ดอกไม้นี้สูญพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

วรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ได้สะท้อนเรื่องราวความรักในหลาย ๆ แง่มุม ทำให้เราได้เห็นโทษของการรักมากเกินไปมากขึ้นทำให้เกิดความทุกข์ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าของเรื่องนี้ในบทต่อไปค่ะ สำหรับบทเรียนในวันนี้น้อง ๆ สามารถตามดูการสอนของครูอุ้มได้ รับรองว่าจะสามารถจดจำเนื้อเรื่องของวรรณคดีได้อย่างครบถ้วน ไม่พลาดในการทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

ม.3 สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1