นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นิราศภูเขาทอง

 

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา

 

หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ

 

นิราศภูเขาทอง

ประวัติความเป็นมา

 

สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว โดยสุนทรภู่นั้นแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจเดีย์ภูเขาทองซึ่งเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ 2371 ซึ่งขณะนั้นได้บวชเป็นภิกษุอยู่วัดเลียบหรือวัดราชบูรณะฯในปัจจุบัน

 

ลักษณะคำประพันธ์ของนิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทอง แต่งด้วยกลอนนิราศ คล้ายคลึงกับกลอนสุภาพต่างกันตรงที่กลอนสุภาพจะเริ่มต้นที่ 4 วรรคแรกคือ สลับ รับ รอง ส่ง แต่กลอนนิราศจะตัดวรรคสดับออกไปทำให้การขึ้นต้นเหลือแค่ 3 วรรคคือ รับ รอง ส่ง

 

นิราศภูเขาทอง

 

เรื่องย่อ

 

นิราศภูเขาทองเป็นเรื่องที่สุนทรภู่ซึ่ง ณ ขณะนั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดเลียบได้แต่งขึ้นตอนเดินทางจากจังหวัดกรุงเทพฯ ไปวัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีความเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่ จุดมุ่งหมายในการแต่งนิราศภูเขาทองนั้นเพื่อบันทึกการเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและความรู้สึกต่อช่วงชีวิตที่ตกอับของตัวเอง เพราะหลังสิ้นรัชสมัยของพระพุทธเลิศล้านภาลัยชีวิตของสุนทรภู่ที่เคยสุขสบายก็พลิกผัน เมื่อผ่านไปยังสถานที่ต่าง ๆ จึงมักจะพรรณนาแล้วโยงเข้ากับชีวิตตัวเอง และเนื่องจากบวชเป็นพระอยู่จึงสอดแทรกเรื่องความรักเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามลักษณะของนิราศอื่น ๆ  เท่านั้น ไม่ได้มีหญิงคนรักจริง ๆ

 

เส้นทางการเดินเรือในนิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทอง

 

เส้นทางการเดินเรือในนิราศภูเขาทองขาไปเริ่มที่สุนทรภู่ออกเดินทางจากวัดเลียบ ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ใน 4 จังหวัดคือ จังหวัดกรุงเทพ ฯ นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา และขากลับเริ่มออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาเพียงวันเดียวเรือก็มาเทียบท่าหน้าวัดอรุณฯ

 

ตัวอย่างบทที่กล่าวถึงสถานที่

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงตลาดขวัญ ตำบลหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

นิราศภูเขาทอง

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงเกาะใหญ่ ซึ่งชาวบ้านใช้เรียกตำบลท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ส่วนราชคราม เป็นชื่อเดิมอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงวัดหน้าพระเมรุฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสุนทรภู่ได้ผ่านวัดนี้ก่อนจะมาถึงวัดภูเขาทอง

 

พอได้รู้ประวัติความเป็นมาและทราบเรื่องย่อกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าสุนทรภู่นั้น เป็นกวีเอกที่มากความสามารถแค่ไหน เพราะสามารถหยิบยกธรรมชาติและผู้คนที่พบเห็นมาแต่งเป็นเรื่องราวให้มีความไพเราะได้ และนอกจากความสวยงามของภาษาแล้ว นิราศภูเขาทองยังสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคสมัยนั้น รวมไปถึงสอดแทรกข้อคิดเตือนใจไว้มากมาย ทำให้นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังเพื่อทำความเข้าใจเรื่องประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทองให้มากขึ้นได้ที่คลิปข้างล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำขวัญ คืออะไร   คำขวัญ คือ

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Verb to be     กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are,

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1