คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช

2. สมเด็จพระราชาคณะ

3. พระราชาคณะชั้นรอง

4. พระราชาคณะชั้นธรรม

5. พระราชาคณะชั้นเทพ

6. พระราชาคณะชั้นราช

7. พระราชาคณะชั้นสามัญ

8. พระครูสัญญาบัตร พระครูชั้นประทวน พระครูฐานานุกรม

9. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 คำสรรพนาม

 

1. ฆราวาสพูดกับพระสงฆ์

สรรพนามบุรุษที่ 1 (ฆราวาส) ในการแทนตัวเอง สามารถแทนได้ด้วยคำสรรพนามที่สุภาพและนอบน้อม เช่น ผม, กระผม, ฉัน, ดิฉัน, หนู เป็น

สรรพนามบุรุษที่ 2 (พระสงฆ์) การเรียกพระสงฆ์จะมีความแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ หากใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ก็ควรเรียกว่า พระคุณเจ้า แต่ถ้าใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมาก็ใช่ว่า พระคุณท่าน และสุดท้าย สามารถใช้ หลวงพ่อ, หลวงพี่ หรือท่าน กับพระภิกษุทั่วไป

 

2. พระสงฆ์พูดกับฆราวาส

สรรพนามบุรุษที่ 1 (พระสงฆ์) จะแทนตัวด้วย อาตมา, หลวงพ่อ, หลวงพี่, หลวงลุง, อาตมภาพ และถ้าหากพูดกับพระสงฆ์ด้วยกันจะใช้คำว่าผมหรือกระผม

สรรพนามบุรุษที่ 2 (ฆราวาส) การเรียกฆราวาสของพระภิกษุสงฆ์จะมีความต่างกันตามฐานะของฆราวาส อาทิเช่น หากพระภิกษุสงฆ์จะเรียกพระเจ้าแผ่นดิน ก็ต้องใช้คำว่า มหาบพิตร เรียกพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ ใช้คำว่า บพิตร แต่กับบุคคลทั่วไปจะใช้คำว่า คุณ, เธอ, โยม, คุณโยม

 

3. คำขานรับของฆราวาส

ขอรับ, ครับ, เจ้าค่ะ, ค่ะ

 

คำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้พระสงฆ์ที่เราจะมาเรียนรู้กันในวันนี้คือคำราชาศัพท์ที่ใช้สนทนากับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปค่ะ จะมีคำใดบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

ทำวัตร หมายถึง สวดมนต์ (ในโบสถ์)

เจริญพระพุทธมนต์ หมายถึง สวดมนต์ (ให้ญาติโยม)

อุปสมบท หมายถึง บวชพระ

บรรพชา หมายถึง บวชเณร

ลาสิกขา หมายถึง สึก (พระ, เณร)

อาสนะ หมายถึง ที่นั่ง

เสนาสนะ หมายถึง ที่นอน, ที่อยู่

ธรรมาสน์ หมายถึง ที่เทศน์

ถวายพระ หมายถึง มอบให้

ประเคน หมายถึง ยกให้ด้วยมือ

ภัตตาหาร หมายถึง อาหาร

มรณภาพ หมายถึง เสียชีวิต

อาพาธ หมายถึง ป่วย

ปลงผม หมายถึง โกนผม

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

 

ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติที่อยู่คู่บ้านเมืองมาอย่างยาวนาน คนไทยหลาย ๆ คนที่นับถือศาสนาพุทธจึงต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ไว้เพื่อให้สามารถสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างถูกต้องและถูกกาลเทศะ ถึงแม้จะมีคำศัพท์ที่ต่างออกไปจากคำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเลยใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านจบแล้วแต่ยังอยากฟังคำอธิบายเพลิน ๆ ระหว่างทำแบบฝึกหัดและทบทวน ก็สามารถไปฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มอีกครั้งได้เพื่อทำความเข้าใจและจดจำคำศัพท์ให้มากขึ้น ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

Profile of Signal Words

การใช้ Signal Words ในภาษาอังกฤษ

  บทนำ   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วยการใช้ คำลำดับความสำคัญ (Signal Words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1