คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย

 

 

คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ โดยญี่ปุ่นเริ่มติดต่อสัมพันธ์กับประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินในสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) ส่วนประเทศจีนนั้นมีการติดต่อกับประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนจำนวนมากก็อพยพมาอยู่ที่ไทย ทำให้ทุกวันนี้มีคนไทยเชื้อสายจีนกันอยู่มาก เมื่อวัฒนธรรมถูกผสมปนเป ก็ทำให้ภาษาถูกหยิบยืมมาใช้เพื่อเรียกแทนคำที่อาจจะไม่ได้มีความหมายแปลที่ชัดเจนโดยการทับศัพท์คำนั้น ๆ ไป

 

ลักษณะภาษาญี่ปุ่น

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

  1. ในภาษาญี่ปุ่น จะเรียงประโยคแบบ ประธาน + กรรม + กริยา เช่น 私はご飯を食べます ซึ่ง 私 หมายถึง ฉัน เป็นประธานของประโยค ご飯 หมายถึง ข้าว ส่วน 食べます หมายถึง กิน ประโยคนี้จึงแปลว่า ฉันกินข้าว ซึ่งจะแตกต่างกับภาษาไทยที่เรียงประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม
  1. ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรทั้งหมด 46 ตัว เสียงสระ 5 เสียง เสียงพิเศษ 1 เสียงใช้เป็นตัวสะกด และไม่มีวรรณยุกต์ในภาษา
  2. คำยืมจากภาษาญี่ปุ่นจะเป็นคำทับศัพท์ คำไทยที่ยืมมาจากญี่ปุ่นจะเรียกทับศัพท์ไปเลย เช่น เทมปุระ ซูชิ ราเมน โมจิ นินจา คาราโอเกะ

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

นอกจากคำศัพท์ทั่วไปแล้ว เพราะอิทธิพลของประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาในไทย ทำให้มีสินค้าหลายประเภทที่เป็นภาษาญี่ปุ่นถูกเรียกปะปนอยู่ในสังคมไทยอีกมาก อย่างยี่ห้อขนมหรือยี่ห้อรถ

 

ลักษณะภาษาจีน

 

 

  1. คำภาษาจีนมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี จัตวา เช่น ก๋วยเตี๋ยว เกี้ยมอี๋
  2. คำภาษาจีนมักมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ก๋ง เจ๊ อั้งโล่ บ๊วย
  3. คำในภาษาจีนมีเสียงวรรณยุกต์ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 4 เสียง และมีเสียงเบา เป็นเสียงที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์

วัฒนธรรมของจีนกับไทย เรียกได้ว่าแทบจะแยกกันไม่ออก คำบางคำก็ถูกใช้ต่อ ๆ กันมาจนชิน ทำให้บางทีคนไทยหลายคนก็ไม่รู้ว่าเป็นคำที่มาจากภาษาจีน จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

 

 

สรุปความรู้ คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

เมื่อดูจากลักษณะของภาษาแล้ว จะเห็นได้ว่าภาษาญี่ปุ่นกับจีนมีความเหมือนและแตกต่างกับภาษาไทย โดยทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนต่างก็มีเสียงสระเหมือนภาษาไทย แต่จะต่างกันตรงเสียงวรรณยุกต์และประโยคที่ภาษาจีนจะมีความเหมือนภาษาไทยมากกว่า ทั้งการออกเสียงวรรณยุกต์ผิดจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยน หรือ การเรียงประโยค ประธาน + กริยา + กรรม เพราะความคล้ายกันของลักษณะภาษานี่เองจึงทำให้ทั้งสองภาษาเข้ามาปะปนและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนมากเป็นคำง่าย ๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ความหมายตรงตัว ไม่ต้องแปลอีกรอบ เมื่อพูดแล้วคนไทยจะเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงเรื่องใด

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ เมื่อได้เรียนรู้คำที่ยืมจากภาษาญี่ปุ่นและจีนกันไปแล้ว ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาและลักษณะภาษาของภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วย วิธีสังเกตก็ง่ายแสนง่าย อย่าลืมลองสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วลองคิดเล่น ๆ ดูนะคะ ว่าสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น คำไหนมาจากภาษาจีนกันบ้าง สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้นนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ รับรองว่าน้อง ๆ จะได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินอย่างแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ มารยาทในการอ่าน   ความหมายของมารยาทในการอ่าน มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1