คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำซ้ำ

 

 

คำซ้ำคืออะไร?

 

คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง การออกเสียงคำซ้ำคำเดิมให้ต่อเนื่องกันโดยใช้เครื่องหมายไม้ยมก(ๆ) เติมหลังคำ

 

ประเภทของคำซ้ำ

 

คำซ้ำที่ไม่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันโดยใช้ไม้ยมก

 

คำซ้ำที่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เพื่อเน้นความหมาย

 

คำซ้ำ

 

วิธีสร้างคำซ้ำ

 

 

หลักการใช้ไม้ยมก

 

 

หลักการใช้ไม้ยมกในคำซ้ำ ต้องใช้กับคำที่เขียนเหมือนกันเท่านั้น ในความหมายและหน้าที่เดียวกัน โดยปกติจะอยู่คำหลังเพื่อซ้ำความหมายของคำให้แตกต่างกันออกไป

 

คำที่ไม่สามารถใช้ไม้ยมกได้

 

คำซ้ำ

 

ความหมายของคำซ้ำ

 

เมื่อนำคำมาซ้ำกันแล้วจะได้ความหมายที่ต่างกันออกไป ดังนี้

 

คำซ้ำ

 

1. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงเพิ่มปริมาณ (พหูพจน์) ใช้เมื่อต้องการบอกว่าสิ่งนั้นมีจำนวนมาก

เขามีรถเป็นสิบ ๆ คัน – ปริมาณเพิ่มขึ้น มีรถหลายคัน

เพื่อน ๆ มากันแล้ว – มีเพื่อนมาหลายคน

เด็ก ๆ กำลังกินข้าว – เด็กหลายคนกำลังกินข้าว

2. ซ้ำแล้วความหมายแยกจำนวน ใช้เมื่อต้องการแยกเป็นอย่าง ๆ ไปเป็นสัดส่วน ใช้กับลักษณะนาม

เราได้ค่าแรงเป็นวัน ๆ – ค่าแรงได้เป็นรายวัน

ครูตรวจเล็บนักเรียนเป็นคน ๆ ไป – ครูตรวจเล็บนักเรียนทีละคน

สมศรีหั่นแตงโมเป็นชิ้น ๆ – สมศรีหั่นแตงโมออกทีละชิ้น

3. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงลดปริมาณ ใช้เมื่อต้องการบอกความหมายให้เบาลง อ่อนลง

เธอยังเจ็บขาอยู่ค่อย ๆ เดิน – ค่อย ๆ หมายถึงเดินให้ช้าลง

ผู้หญิงที่ใส่เสื้อสีแดง ๆ – ผู้หญิงไม่ได้ใส่เสื้อสีแดงแต่อาจจะเป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีแดง

อาหารรสชาติคล้าย ๆ กับที่แม่ฉันทำ – รสชาติอาหารคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน

4. ซ้ำแล้วความหมายเป็นเชิงคาดคะเน ไม่แน่นอน

เขานั่งอยู่แถวหลัง ๆ – บอกว่านั่งอยู่แถวหลังแต่ไม่ระบุชัดเจนว่าแถวที่เท่าไหร่

บ้านฉันอยู่แถว ๆ ริมน้ำ – บ้านอยู่แถวริมน้ำแต่ไม่ระบุว่าริมน้ำตรงไหน

พรุ่งนี้เราเจอกันดึก ๆ หน่อย – เจอกันตอนดึกแต่ไม่ระบุว่ากี่โมง

5. ซ้ำแล้วความหมายหนักขึ้น เน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น อาจใช้ไม้ยมกหรือเปลี่ยนวรรณยุกต์เพื่อเสียงเพื่อนเน้น

ในที่สุดก็มีวันหยุด ฉันดีใจ๊ดีใจ – เน้นว่าดีใจมาก ๆ 

บ้านเพื่อนฉันร้วยรวย – เน้นว่ารวยมา

อาหารที่เธอทำมันเค็มมาก ๆ – เน้นว่ารสชาติเค็มมาก

6. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไป

คนนี้พูดภาษาญี่ปุ่นแบบงู ๆ ปลา ๆ – งู ๆ ปลา ๆ หมายถึง มีความรู้เพียงเล็กน้อย, รู้ไม่จริง, รู้ไม่ลึกซึ้ง

อยู่ ๆ ฉันก็สะดุ้งตื่น – อยู่ ๆ หมายถึง ไม่มีเหตุผล

เรื่องกล้วย ๆ แค่นี้ฉันทำได้ – กล้วย ๆ หมายถึงง่าย

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำซ้ำ ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะคะ? คำซ้ำเป็นคำที่หลายคนมองว่าง่าย ไม่มีอะไรมากแค่เติมไม้ยมก แต่บางครั้งในข้อสอบก็อาจจะมีโจทย์ที่หลอกให้เราสับสนได้ เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ น้อง ๆ ควรหมั่นฝึกฝนและทบทวนอยู่เสมอนะคะ โดยในระหว่างที่ทำแบบฝึกหัดก็อย่าลืมเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มดูไปด้วยเพื่อฟังคำอธิบายและหลักการจำอย่างง่าย ๆ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่เขียนอยู่ในรูป {(x, y) ∈ ×   : y = } โดยที่ a เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ a ≠ 1 เช่น  , , ซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ    

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1