ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ

 

ความหมายของคำราชาศัพท์

 

 

คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3.พระภิกษุสงฆ์

4. ข้าราชการ

5. สุภาพชน

ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เราจะต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยคือ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะมีหลักการใช้และคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป

 

คำราชาศัพท์ : ที่มาและความสำคัญ

 

แม้ไม่มีระบุแน่ชัดว่าคำราชาศัพท์เกิดขึ้นครั้งแรกในปีใด แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าคำราชาศัพท์มีใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรและบาลีสันสกฤต อย่างคำว่า เสวย ทรง ถวาย ราชย์ พระธาตุ ฯลฯ

 

ความสำคัญของคำราชาศัพท์

1. ทำให้ใช้ภาษาเป็น ระดับของภาษามีหลายระดับ ทุกคนจึงจำเป็นต้องรู้ระดับของภาษาและเลือกใช้คำพูดให้ถูกต้อง เหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ

2. ทำให้รู้จักมารยาทสังคม ประเทศไทยอาจไม่ได้แบ่งชนชั้นวรรณะ แต่ก็มีลำดับขั้น มีบุคคลที่ควรจะให้เกียรติเนื่องจากทำคุณงามความดีให้ประเทศชาติ หากผู้ฟังมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าแล้วเราใช้คำพูดผิดก็อาจจะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟังได้

3.เข้าใจลักษณะสังคมไทย การที่ภาษามีหลายระดับ ทำให้เราเห็นวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชาติ รวมถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย

 

คำราชาศัพท์

 

พระพักตร์ หมายถึง หน้า

พระปราง หมายถึง แก้ม

พระนลาฏ,ลลาฏ หมายถึง หน้าผาก

พระเนตร/พระจักษุ หมายถึง ดวงตา

พระนาสิก หมายถึง จมูก

พระขนง หมายถึง คิ้ว

พระกรรณ หมายถึง หู

พระศอ หมายถึง คอ

พระเศียร หมายถึง ศีรษะ

พระหนุ หมายถึง คาง

พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก

พระทนต์ หมายถึง ฟัน

 

คำราชาศัพท์

 

พระหัตถ์ หมายถึง มือ

พระพาหา หมายถึง แขน

พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ หมายถึง นิ้วมือ

พระอังคุฐ หมายถึง นิ้วโป้ง

พระดัชนี หมายถึง นิ้วชี้

พระมัชฌิมา หมายถึง นิ้วกลาง

พระอนามิกา หมายถึง นิ้วนาง

พระกนิษฐา หมายถึง นิ้วก้อย

 

คำราชาศัพท์

 

พระองค์ หมายถึง ร่างกาย

พระอังสา หมายถึง บ่า, ไหล่

พระอุทร หมายถึง ท้อง

พระนาภี หมายถึง สะดือ

พระถัน หมายถึง เต้านม

พระฉวี หมายถึง ผิวหนัง

 

สรุป

ภาษาไทยเป็นเครื่องบ่งบอกวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ ดังนั้น แม้ว่าคำราชาศัพท์จะไม่ใช่คำทั่วไปที่เราใช้พูดกับเพื่อนหรือคุณครู แต่เด็ก ๆ ทุกคนก็ควรเรียนรู้ไว้ในฐานะคนไทย สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดได้แบบสบาย ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำขวัญ คืออะไร   คำขวัญ คือ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1