ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

 

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : นางวันทองกับพลายงามต่างหน้ากันด้วยความผูกพันและเศร้าโศกที่จะต้องแยกจากกัน สองแม่ลูกร้องไห้ขณะร่ำลาก่อนที่พลายงามจะแข็งใจเดินจากนางวันทองมา

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นตอนที่ขุนช้างสงสัยว่าพลายงามเป็นลูกของใคร หลังจากที่เคยเข้าใจว่าพลายงามเป็นลูกของตัวเอง แต่ยิ่งนานไป พลายงามโตขึ้นเรื่อย ๆ หน้าตากลับไปเหมือนขุนแผนที่เป็นพ่อ

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : ขุนช้างต่อว่านางวันทองว่าสองใจ ตั้งชื่อลูกว่าพลายงาม จงใจให้คล้ายกับชื่อขุนแผน (ชื่อเดิม พลายแก้ว)

 

คุณค่าของวรรณคดี

 

 

ด้านเนื้อหา

ความรักระหว่างแม่ลูก

เนื้อหาตอนกำเนิดพลายงามมีคุณค่าที่เด่นชัดที่สุดความรักระหว่างแม่กับลูก เมื่อมีเหตุให้ต้องจากกัน ความผูกพันระหว่างแม่ลูกก็ทำให้ทั้งนางวันทองและพลายงามเสียใจเป็นอย่างมากที่ต้องแยกกัน นางวันทองเลือกที่จะปกป้องลูกจากขุนช้างโดยให้ไปอยู่ที่อื่น พลายงามเองก็เข้าใจความรู้ของแม่ที่ต้องการปกป้องจึงไม่ได้คิดโกรธแค้นแต่อย่างใดที่ไม่ได้อยู่กับแม่

สะท้อนชีวิตคนธรรมดาสามัญ

ความดีเด่นของวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ทำให้แตกต่างจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ คือตัวละครในเรื่องส่วนมากเป็นเรื่องราวความรักของคนธรรมดา ไม่ได้มีตัวละครเอกเป็นเจ้าเมือง โดยสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาของคนในสังคมไทยสมัยก่อนอย่างละเอียดและมีความใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

ด้านวรรณศิลป์

ตอนกำเนิดพลายงาม มีรสวรรณคดีคือสัลลาปังคพิไสย (บทโศก) และพิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ โกรธ) หลายบท เช่น อารมณ์ของนางวันทองกับพลายงามที่เศร้าโศกเพราะต้องแยกจากกัน หรือเป็นที่ขุนช้างโกรธนางวันทองและขุนแผนเมื่อรู้ว่าพลายงามไม่ใช่ลูกของคน

 

ขุนช้างขุนแผนนี้ ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามเม็ดหนึ่งของวรรณกรรมไทย ด้วยอุดมไปด้วย คุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความประณีตบรรจงในการแต่ง กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะและมีเนื้อความดีตลอดเรื่อง สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิต และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพและซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังสรุปความสำคัญของเรื่องทั้งหมดของเรื่องกันด้วยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่�

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   ทบทวน Present Simple Tense     Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1