ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี

 

ขัตติยพันธกรณี

 

ถอดความ

เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต เพื่อให้พ้นจากความเหน็ดเหนื่อย ไปสู่โลกหน้าที่มีแต่ความสบายกายสบายใจ มีความสุขมากยิ่งกว่า ทรงอธิบายความรู้สึกเป็นการเปรียบเทียบว่ารู้สึกเหมือนมี “ตะปูดอกใหญ่” ตรึงเท้าทั้ง 2 ข้างเอาไว้ ทำให้เดินไม่ได้ หากมีใครที่สามารถดึงตะปูนี้ออกได้ พระองค์ก็จะทรงยินดีให้ดึงออก

 

ขัตติยพันธกรณี

 

 

ถอดความ

กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเปรียบเทียบว่าบ้านเมืองเป็นรัฐนาวา เมื่อเรือที่กำลังแล่นไปในมหาสมุทรก็มีบางครั้งที่ต้องเจอกับพายุหนักบ้างเบาบ้าง ถ้าเรือดี ยังพอมีกำลังอยู่ก็ทำให้แล่นต่อไปได้ แต่หากเจอพายุพัดก็อาจจะทำให้เรือล่มได้ ชาวเรือหรือก็คือประชาชนทุกคนย่อมรู้ ดังนั้นตรบใดที่เรือยังแล่นได้อยู่ก็ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค

 

ขัตติยพันธกรณี

 

ถอดความ

จากที่กรมหมื่นดำรงราชานุภาพได้เปรียบเทียบวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นเหมือนพายุร้าย เมื่อเราพยายามแก้จนสุดความสามารถแล้วไม่สามารถแก้ได้ ก็ต้องยอมรับสภาพและปล่อยให้มันเป็นไป ทรงยกตัวอย่างให้รัชกาลที่ 5 เห็นถึงผลลัพธ์ของการกระทำที่ต่างกันว่าถ้าหากพระองค์ยังทรงนิ่งเฉย ไม่หาทางแก้ไข ปัญหาก็เพิ่มมากขึ้นจนแก้ไม่ไหว สุดท้ายรัฐนาวาหรือก็คือประเทศของเราก็จะไปไม่รอด แต่ถ้าพระองค์พยายามหาทางแก้ไขจนเต็มกำลังพระปรีชาแล้ว ถึงจะแก้ไขไม่ได้ ก็จะไม่มีใครมาว่าพระองค์ไม่เก่ง ไม่เอาใจใส่บ้านเมือง ถึงจะพลาดพลั้งแต่ก็ยังได้รับการยกย่องและความเห็นใจว่าปัญหานี้มันใหญ่เกินกว่าจะแก้และตัวพระองค์เองก็ทำเต็มที่แล้ว

 

คุณค่าในเรื่อง ขัตติยพันธกรณี

 

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ขัตติยพันธกรณีเป็นวรรณคดีที่โดดเด่นในเรื่องการใช้โวหารภาพพจน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นบทประพันธ์ที่ถูกแต่งขึ้นมาจากความรู้สึกของคนจริง ๆ จึงมีการเปรียบเทียบความรู้สึกออกมาในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบ ตะปู เป็นหน้าที่ ที่ตอกร่างไว้ไม่ให้ไปไหน ที่รัชกาลที่ 5 ทรงเปรียบเทียบให้เห็นถึงภาระอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ไม่อาจละทิ้งไปได้ง่าย ๆ และอีกหนึ่งการเปรียบเทียบที่สำคัญ คือในตอนที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเขียนจดหมายตอบโต้ไปให้กำลังใจและเปรียบเทียบบ้านเมืองเป็นเรือ รัชกาลที่ 5 เป็นกัปตัน และวิกฤตการณ์ในครั้งนั้นคือพายุร้ายที่จะต้องผ่านไปให้ได้

 

ขัตติยพันธกรณี

 

จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการเปรียบเทียบว่าการที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงประชวรหนักทำให้ประชาชนไม่สบายใจ เมื่อเจอหน้ากันก็ปรับทุกข์ และรู้สึกว่าตัวเองเหมือนลูกเรือและนายท้ายที่กำลังสับสนเพราะขาดกัปตันเรืออย่างพระมหากษัตริย์มาควบควบคุมทำให้ไม่รู้จะแล่นเรือไปทางใดดี นับว่าเป็นการใช้โวหารภาพพจน์ได้อย่างงดงามและลึกซึ้ง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความรู้สึกของผู้คนในยุคสมัยนั้น

คุณค่าด้านคุณธรรม

แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะเป็นการระบายความทุกข์โทมนัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อวิกฤติการณ์บ้านเมืองและอาการประชวรที่เป็นมาอย่างยาวนานจนนึกอยากจะจากโลกนี้ไปเพื่อตัดปัญหา แต่พระองค์ก็ไม่ทรงทำเช่นนั้น เพราะตระหนักถึงหน้าที่ของตัวเองที่จะต้องปกป้องชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ เพื่อให้ไม่ต้องคนไทยต้องเสียเลือด เสียเนื้อ และเสียดินแดนไป จึงสะท้อนให้เห็นคุณธรรมที่เปี่ยมล้นของพระองค์

คุณค่าด้านสังคม

ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดีอยู่ เพราะวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาประเทศจนนำไปสู่ยอมรับในระดับนานาชาติจนช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของตะวันตก บทประพันธ์จึงเหมือนเป็นบันทึกเรื่องราวในช่วงเวลาสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับมามีกำลังใจและออกเสด็จว่าราชการอีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถรักษาประเทศไทยให้เราได้อยู่จนถึงทุกวันนี้โดยไม่เคยต้องเสียเอกราชให้ใคร

 

ขัตติยพันกรณีไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีทั่วไปที่ให้คุณค่าในแง่ของการประพันธ์ การใช้ภาษาที่สวยงาม แต่ยังบันทึกเรื่องของอดีตทั้งเหตุการณ์และความรู้สึกของผู้คนในยุคสมัยนั้นไว้ในตัวอักษร เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังให้ได้ศึกษาและตระหนักถึงคุณค่าของแผ่นดินไทยที่บรรพบุรุษได้พยายามรักษาไว้อีกด้วยค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียน และดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อเรียนรู้การถอดความบทประพันธ์และสรุปความรู้ของบทเรียนทั้งหมด จะได้ไม่พลาดในการทำข้อสอบนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

comparison of adjectives

Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1