การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม กันค่ะว่าเราจะมีวิธีการอ่านและใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของพจนานุกรมไทย

พจนานุกรมในช่วงแรกไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร แต่รวบรวมคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อประกอบการอ่านวรรณคดีร้อยกรอง ต่อมามีการจัดเรียงตามลำดับอักษรโดยกรมศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์พจนานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2435 ภายหลังมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้นและตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2493

 

ประเภทของพจนานุกรม

 

พจนานุกรมมีแบ่งออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนี้

 

การใช้พจนานุกรม

 

  • พจนานุกรมภาษา พจนานุกรมไทยเป็นไทย
  • พจนานุกรมเฉพาะเรื่อง รวบรวมคำศัพท์ในเรื่องที่สนใจ เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
  • พจนานุกรมประกอบภาพ เช่น พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

 

การใช้พจนานุกรม

 

เราสามารถหาคำที่ต้องการในพจนานุกรมได้อย่างง่าย ๆ โดยดูจากการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามพยัญชนะ

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามสระ

 

 

– พจนานุกรมจะเรียงตามรูป ไม่เรียงตามเสียง เช่นคำที่ขึ้นต้นด้วย ทร- ถึงจะออกเสียง ซ แต่คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเหล่านี้จะอยู่ที่หมวดตัวอักษร ท

– คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ จะมาก่อนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยสระ

– กรณีที่มีพยัญชนะและสระเหมือนกัน ให้สังเกตที่ตัวสะกด

– กรณีที่มีทั้งพยัญชนะ สระ และตัวสะกดเหมือนกัน ให้ดูที่วรรณยุกต์ ดังนี้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ถ้ามีไม้ไต่คู้ด้วย ไม้ไต่คู้จะมาก่อนวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา

 

ตัวอย่างการเรียง

1. เริ่มจากพยัญชนะหรือคำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสม

ก กก กง กช กฎ กฎ กณ กด กต กถ กท กน กบ กป กม กร กฤ กล กว กษ กส กอ

2. ตามด้วยพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกัน

กะ กัก กา กำ กิก กีก กึก กุก กกู เก เกะ เกา เกาะ เกิน เกีย เกียะ เกือ แก แกะ โก โกะ ใก ไก

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม

 

 

 

อักษรย่อในพจนานุกรม

 

อักษรย่อหน้าบทนิยาม บอกชนิดของคำตามหลักไวยกรณ์

ก. = กริยา

น. = นาม

บ. = บุพบท

ส. = สรรพนาม

ว. = วิเศษณ์

สัน. = สันธาน

อ. = อุทาน

 

อักษรย่อในวงเล็บท้ายบทนิยาม บอกที่มาของคำ

(ข.) = เขมร

(ช.) = ชวา

(ป.) = ปาลิ (บาลี)

(จ.) = จีน

(ส.) = สันสกฤต

(อ.) = อังกฤษ

 

อักษรย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม บอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะ

(กฎ) คือ คำที่ใช้ในกฎหมาย

(กลอน) คือ คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง

(คณิต) คือ คำที่ใช้ในคณิตศาสตร์

(ถิ่น) คือ คำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น

(ราชา) คือ คำราชาศัพท์

(โบ) คือ คำโบราณ

 

พจนานุกรมไม่เพียงแต่บอกความหมายของคำ แต่นอกจากนี้ให้ความรู้ในเรื่องการเขียน บอกเสียงอ่าน ให้ความหมายของคำแต่เพียงสั้น ๆ มักให้ตัวอย่างของคำและอาจบอกประวัติที่มาของคำด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะเข้าถึงเทคโนโลยีกันได้ง่ายขึ้น สามารถสืบค้นหาคำต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องมานั่งเปิดพจนานุกรมแบบสมัยก่อน แต่พจนานุกรมก็ยังมีประโยชน์อยู่ในยามที่เราไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังได้ฝึกสมาธิ และในระหว่างหาคำศัพท์ เราก็อาจจะได้พบคำศัพท์ใหม่ ๆ ผ่านตาเพิ่มพูนความรู้แก่ตัวเองได้อีกด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียน และไปฝึกทดสอบการเรียงคำพร้อมกับครูอุ้มได้ในคลิปการสอนย้อนหลัง เพื่อทำความเข้าใจและเรียงคำได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   มหาเวสสันดรชาดก   มหาชาติชาดก

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

Adjective Profile

คำคุณศัพท์ (Adjective)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1