การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม

 

2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ อาจจะพูดย่อหรือลดพยางค์ลงไป และในบางคำที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงยาก ผู้พูดก็จะหลีกเลี่ยงไม่ออกเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3. การยืมคำจากภาษาต่างประเทศ การยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่มาใช้ร่วมกับภาษาไทยทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเสียง คำ และโครงสร้างประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

เป็นการเปลี่ยนระบบโครงสร้างของภาษาไทยให้ต่างไปจากเดิม มีลักษณะดังนี้

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

1. การใช้ประโยคกรรม

โดยปกติแล้วประโยคภาษาไทยจะเรียงแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ในปัจจุบันมีประโยคกรรมมากขึ้น คือย้ายกรรมมาไว้ต้นประโยคเหมือนเป็นประธาน

ตัวอย่าง สุนัขถูกตี สุนัขเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค หรือ น้องสาวถูกรถชน น้องสาวเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค

จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะสังเกตได้ว่าประโยคกรรมเหล่านี้มักมีคำว่า ถูก อยู่หน้ากริยาทำให้โครงสร้างของประโยคที่คนนิยมใช้ส่วนมากจะเป็น กรรม + ถูก + กริยา นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งซึ่งก็คือคำว่า ได้รับ ทั้งคำนี้จะถูกใช้ในบริบทที่ต่างกันออกไป

 

 

2. การใช้ประโยคสรรพนามว่า มัน

เป็นการเรียงประโยคที่ได้รับอิทธิพลมาจากไวยากรณ์อังกฤษในการใช้คำว่า it หรือ มัน ขึ้นต้นประโยค โดยที่สรรพนาม มัน นั้นไม่ได้แทนสัตว์หรือสิ่งของใด ๆ

ตัวอย่าง มันถึงเวลาแล้ว

มันจะผ่านไปด้วยดี

มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอบรมลูก

 

3. ประโยคมีอาการนามมากขึ้น

อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ “ความ” หรือ “การ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ประโยคในปัจจุบันมีการนำอาการนามมาเพิ่มในประโยคเยอะขึ้นทำให้ประโยคยาวกว่าเดิม

ตัวอย่าง การแยกขยะให้ถูกต้องจะช่วยจัดการปัญหาเรื่องขยะได้ดี

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นผลของความพยายาม

 

4. ประโยคที่นำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยค

ส่วนขยายในประโยคภาษาไทยมักจะอยู่หลังคำหรือวลีที่ถูกขยาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางประโยคทำให้ปัจจุบันคนนิยมนำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยคกันเป็นจำนวนมาก

ตัวอย่าง สีแดงของเสื้อเธอมันแสบตาฉันเหลือเกิน

 

วัวัฒนาการของภาษามีการเปลี่ยนไปแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตายทำให้โครงสร้างประโยคถูกเปลี่ยนไปมีหลายรูปแบบมากขึ้น อาจจะสะดวกในการสื่อสาร แต่น้อง ๆ ก็ต้องหมั่นทบทวนและแยกให้ออกด้วยนะคะว่าประโยคไหนเป็นแบบไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดและสับสนค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนของประโยคเพิ่มเติมได้ ก่อนที่บทเรียนในครั้งหน้าเราจะไปเรียนรู้อีกหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างการเปลี่ยนแปลงคำกันค่ะ ไปดูกันค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การอ่านบทร้อยกรอง     การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

phrasal verbs

Phrasal Verbs: กริยาวลีในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ two-word verbs และ three-word verb ในภาษาอังกฤษกันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย

ลบไม่ได้ช่วยให้ลืม เช่นเดียวกับการลบเศษส่วนและจำนวนคละ!

บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงการบวกเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ ทั้งสองเรื่องนี้มีหลักการคล้ายกันต่างกันที่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการลบเศษส่วนและจำนวนคละอย่างละเอียดและยกตัวอย่างให้น้อง ๆเข้าใจอย่างเห็นภาพและสามารถนำไปปรับใช้กับแบบฝึกหัดเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละได้

บวก ลบ ทศนิยมอย่างไรให้ตรงหลัก

การบวกและการลบทศนิยมมีหลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำนวนนับคือ ต้องบวกและลบให้ตรงหลัก ดังนั้นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือต้องเขียนตำแหน่งของตัวเลขให้ตรงหลักไม่ว่าจะเป็นหน้าจุดทศนิยมและหลัดจุดทศนิยม บทความมนี้จะมาบอกหลักการตั้งบวกและตั้งลบให้ถูกวิธี และยกตัวอย่างการบวกการลบทศนิยมที่ทำให้น้อง ๆเห็นภาพและเข้าใจได้อย่างดี

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1