การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

การอ่านบทร้อยกรอง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

 

 

จังหวะการอ่านกาพย์

กาพย์แต่ละประเภท จะแบ่งจังหวะดังนี้

 

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานีมีจังหวะที่ดำเนินช้า จึงนิยมแต่งในความพรรณนา เช่น ชมนกชมไม้ พรรณนาความสวยงามของธรรมชาติ พรรณนาอารมณ์โศก คร่ำครวญ หรือใช้แต่งบทสวด บทสรภัญญะที่ใช้ในบทละคร เป็นต้น

 

ตัวอย่าง

เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//

ทิพากร/จะตกต่ำ//

สนธยา/จะใกล้ค่ำ//

คำนึงหน้า/เจ้าตาตรู//

 

การอ่านกาพย์ฉบัง 16

 

กาพย์ฉบังจะใช้พรรณนาธรรมชาติที่เคลื่อนไหว พรรณนาอารมณ์คึกคัก สดชื่น รื่นเริง เป็นต้น กาพย์ฉบัง 16 แบ่งจังหวะวรรคแรกและวรรคท้ายเป็น 2/2/2 วรรคกลางเป็น 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

สัตว์จำ/พวกหนึ่ง/สมญา

พหุ/บาทา//

มีเท้า/อเนก/นับหลาย//

 

ทำนองการอ่านกาพย์

 

กาพย์ยานี 11

วรรคที่ 1 และ 2 อ่านเสียงให้เป็นกลาง ๆ หรือเสียงสูงในวรรคที่ 2 ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 อ่านเสียงสูงขึ้น 1 บันไดเสียง หรืออ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค โดยบางวรรคอาจสลับเป็นอ่านเสียงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ

กาพย์ฉบัง 16

อ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค หรืออ่านวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคอื่น 1 บันไดเสียง

 

การอ่านกาพย์ควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่าน ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

 

การอ่านบทร้อยกรอง ประเภทโคลง

 

 

โคลง มีลักษณะการใช้คำที่สั้น กะทัดรัด เนื้อความกระชับ เนื่องจากมีการดำหนดจำนวนจำแต่ละวรรคไม่มากนัก และยังมีคำเอกคำโทอีกด้วย  ทำให้บางคนอ่านแล้วอาจทำให้เสียงหลง แต่ถ้าหากอ่านให้ถูกวิธี การอ่านโคลง ก็จะไพเราะไม่แพ้บทร้อยกรองประเภทอื่นเลยค่ะ

 

การแบ่งจังหวะการอ่านโคลง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ จะแบ่งจังหวะ 3 บาทแรก เป็น 2/3 และ 2 หรือ 2/2 ถ้ามีคำสร้อย บาทสุดท้ายเป็น 2/3 และ 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

ผลเดื่อ/เมื่อสุกไซร้//  มีพรรณ

ภายนอก/แดงดูฉัน//  ชาดป้าย

ภายใน/ย่อมแมลงวัน//  นอนบ่อน

ดุจดั่ง/คนใจร้าย//  นอกนั้น/ดูงาม

 

ทำนองการอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

-อ่านด้วยเสียงระดับเดียวกันทั้งบท บางคำขึ้นลงสูงต่ำตามเสียงวรรณยุกต์ ยกเว้นวรรคแรกของบาทที่ 3 จะอ่านเสียงสูงกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง หรือวรรคสุดท้าย อาจจะอ่านเป็นเสียงต่ำกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง

-คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 หากเป็นเสียงตรี สามารถอ่านได้สองแบบ คือ อ่านผวนเสียงขึ้นสูง หรืออ่านเสียงทบต่ำ

-คำสุดท้ายของบาทที่ 1 หรือ 4 หากเป็นเสียงจัตวา มักอ่านขึ้นเสียงและผวนเสียงขึ้นสูง

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนเรื่องการอ่านบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์และโคลง เป็นอีกคำประพันธ์ที่เมื่ออ่านแล้วจะมีความไพเราะมาก ไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ น้อง ๆ สามารถฝึกอ่านได้ด้วยตัวเอง หรือจะไปฟังคำอธิบายจากครูอุ้มในคลิปการสอนเรื่อง การอ่านบทร้อยกรองได้ รับรองว่าจะสามารถเข้าใจการอ่านและอ่านได้อย่างถูกวิธีมากขึ้นด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

ป6การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้  love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   โครงสร้าง: In my free time/ In my spare time,…     In my

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำไทยที่มักอ่านผิด   ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1