การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

การอ่านจับใจความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

การอ่านจับใจความ

 

เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด

 

ใจความสำคัญ

 

หมายถึง ใจความที่สำคัญ และเด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นสำคัญที่สามารถครอบคลุมเนื้อความทั้งหมด

 

 ลักษณะของใจความ

 

 

 

หลักในการอ่านจับใจความสำคัญ

 

 

1. สำรวจส่วนประกอบของหนังสือ เช่น ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ ฯลฯ เพราะส่วนประกอบของหนังสือจะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหรือหนังสือที่อ่านได้กว้างขวางและรวดเร็ว

2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านเพื่อเป็นแนวทางใช้กำหนดวิธีอ่านให้เหมาะสมและจับใจความ หรือหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น โดยจับใจความให้ได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร แล้วนำมาสรุปเป็นใจความสำคัญ

 

วิธีจับใจความสำคัญ

 

วิธีจับใจความสำคัญมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความถนัด แต่ทุกวิธีล้วนต้องบันทึกย่อเพื่อหาใจความสำคัญ มีวิธีดังนี้

1. พิจารณาทีละย่อหน้า

2. ตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดออกได้เช่น ตัวอย่าง สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย

3. สรุปใจความสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

 

การอ่านจับใจความ

 

เราจะฝึกเป็นนักจับใจความสำคัญได้อย่างไร

 

เพราะการอ่านจับใจความเป็นเรื่องสำคัญที่นอกจากจะจำเป็นต่อการเรียนแล้วยังช่วยในการอ่านข่าวในชีวิตประจำอีกด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆ ควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอคือการสร้างนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเรื่องที่อ่านนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือเรียนเท่านั้น อาจจะเป็นนวนิยาย เรื่องสั้น หรือแม้แต่หนังสือการ์ตูนก็ได้ จากนั้นให้ลองเล่าให้คนอื่นฟังหรือจดบันทึกการอ่านสั้น ๆ เริ่มจากข้อความที่เราสนใจ ทำเช่นนี้บ่อยครั้งขึ้นก็จะช่วยฝึกให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น

 

การอ่านจับใจความ

 

การอ่านจับใจความนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ถ้าหากรู้เทคนิคในการอ่านแล้วก็จะช่วยให้เราเข้าใจบทเรียนมากกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ แถมไม่ต้องไปเสียเวลานั่งจำอะไรที่ไม่จำเป็นให้เสียเวลาอีกด้วย และเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการอ่านใจความมากขึ้น น้อง ๆ สามารถติดตามการสอนของครูอุ้มได้ในคลิปการสอนย้อนหลัง โดยในบทเรียนนี้ครูอุ้มได้หยิบเรื่องการอ่านข่าวมาสอนให้น้อง ๆ ได้รู้จักพิจารณาข่าวทั้งการพาดหัวข่าว เนื้อข่าว หรือสำนวนการเขียน เพื่อหาใจความสำคัญของข่าว ถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์แถมยังนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ    

เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1